ESG อนาคตของการลงทุน การลงทุนเพื่ออนาคต

ในยุคที่สิ่งแวดล้อมกำลังเผชิญต่อการคุกคามและสังคมกำลังเผชิญความท้าทายที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ นักลงทุนที่เชื่อว่าการแสวงหาผลกำไรจากการลงทุนเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้ชีวิตมีความสุขและนี่คือที่มาของ Theme การลงทุน “Socially Responsible Investing (SRI)” ที่คำนึงถึงทั้งผลตอบแทนทางการเงินและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

SRI เป็นหลักการลงทุนที่มีความเชื่อว่าการลงทุนไม่ควรที่จะสร้างผลตอบแทนทางการเงินเพียงอย่างเดียว แต่ควรต้องมีผลดีหรือไม่สร้างผลกระทบที่ไม่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดย SRI เชื่อว่าการลงทุนสามารถเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่ดีและนักลงทุนมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของธุรกิจ อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ

ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจจึงเริ่มปรับกลยุทธ์ให้ตอบสนองและสอดคล้องกับหลักการ SRI และนี่คือที่มาของหลักการพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืนโดยยึด สิ่งแวดล้อม สังคม และ บรรษัทภิบาล หรือ Environmental, Social and Governance (ESG) เป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ

ESG คืออะไร

จริงอยู่ว่า ESG หรือ Environmental, Social and Governance  นั้นไม่ได้แปลว่า "กำไร" โดยตรง แต่หลักการ ESG นั้น มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจบริหารความเสี่ยง และนำไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาว  ซึ่งส่งผลดีต่อผลประกอบการโดยรวมดังนี้

1.  ESG ช่วยบริหารความเสี่ยงเชิงลึก

ธุรกิจที่คำนึงถึง ESG  ย่อมตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานต่อ สิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล ตัวอย่างเช่น

  • ด้านสิ่งแวดล้อม: การปล่อยมลพิษอาจนำไปสู่ค่าปรับ กฎระเบียบที่เข้มงวด หรือภาพลักษณ์ที่เสียหายต่อบริษัท

  • ด้านสังคม: สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย หรือ การละเมิดสิทธิมนุษยชน อาจส่งผลต่อชื่อเสียง ความสัมพันธ์กับพนักงานและลูกค้า

  • ด้านบรรษัทภิบาล: การทุจริต การขาดความโปร่งใส อาจนำไปสู่ความสูญเสียความเชื่อมั่นจากนักลงทุน

การมีนโยบาย ESG สามารถช่วยให้ธุรกิจประเมินและวางแผนรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสเกิดวิกฤต และสร้างความมั่นคงในระยะยาว

2.  ESG สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่

ESG ไม่ได้เป็นเพียงข้อจำกัด แต่ยังเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆให้กับองค์กรที่คำนึงถึงหลักการเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น

  • ด้านสิ่งแวดล้อม: ธุรกิจที่พัฒนานวัตกรรม สินค้า หรือบริการ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อมได้รับความสนใจจากผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และมีโอกาสเติบโตในตลาดสีเขียว

  • ด้านสังคม: ธุรกิจที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สนับสนุนชุมชน สร้างโอกาสให้กับกลุ่มด้อยโอกาส ย่อมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ดึงดูดพนักงานที่มีคุณภาพ และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า

  • ด้านบรรษัทภิบาล: ธุรกิจที่มีธรรมาภิบาล บริหารจัดการอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความน่าเชื่อถือ ดึงดูดนักลงทุน และสร้างความมั่นคงทางการเงิน

3.  ESG สร้างความยั่งยืนในระยะยาว

ธุรกิจที่อยากมีความยั่งยืนอยู่คุ่กับสังคมไปนานๆ คงไม่ใด้แค่อยากแสวงหาผลกำไรระยะสั้น แต่มุ่งมั่นที่จะเติบโตไปในแนวทางที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล ESG จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบ สร้างสมดุลระหว่างผลกำไร ผลตอบแทนต่อผู้มีส่วนได้เสีย และความยั่งยืนในระยะยาว ตัวอย่างบริษัทที่ได้รับการยกย่องในด้าน ESG คือ

  • บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านศูนย์การค้าสีเขียว ผ่านมาตรการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม เช่น การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน การบำบัดน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และ การจัดการขยะอย่างยั่งยืน

  • บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และสนับสนุนชุมชน

  • บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลที่แข็งแรงโดยมีการกำหนดมาตรการการปกป้องข้อมูลส่วนตัวจนถึงการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของลูกค้า และสร้างการเข้าถึงบริการดิจิทัลให้ทุกคนในสังคมผ่านการสร้างคุณค่าให้แก่สังคมทุกกลุ่ม

การลงทุนในธุรกิจที่เคารพและดำเนินงานภายใต้นโยบาย ESG จึงไม่ใช่แค่การลงทุนเพื่อแสวงหาผลกำไรทางการเงินอย่างเดียว แต่ยังเป็นการสนับสนุนธุรกิจที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

จะรู้ได้อย่างไรว่าธุรกิจไหนใช้หลักการ ESG ในการดำเนินธุรกิจ

  • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเริ่มทำ SET ESG Ratings ในปี 2023 เพื่อให้นักลงทุนใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานด้าน ESG ของแต่ละบริษัท โดยในปีแรกนั้น มีบริษัทจดทะเบียน 193 บริษัทที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับ SET ESG Ratings นักลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้ที่หน้าเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 

  • ข้อมูลจาก ESG Rating Agency อาทิเช่น MSCI ESG Ratings, Sustainalytics' ESG Risk Ratings และ Bloomberg ESG Disclosures Scores เป็นต้น

  • ข้อมูลจากบริษัทเอง ซึ่งบริษัทที่เคร่งครัดและเห็นความสำคัญด้าน ESG จะเปิดเผยอย่างโปร่งใสในหน้าเว็บไซต์ของบริษัทถึงนโยบายการดำเนินงานที่มุ่งเน้นผลตอบแทนที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น 3 บริษัทที่ได้กล่าวถึงเบื้องต้น

อะไรจะเกิดขึ้นหากธุรกิจละเลยหลักการ ESG ในการดำเนินธุรกิจ

ตัวอย่างเหตุการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นหากธุรกิจละเลย ESG

  • การตรวจพบกากแคดเมียมจำนวนมากที่ถูกซุกซ่อนในโกดังต่างๆในจังหวัดสมุทรสาคร ชลบุรี และกรุงเทพฯ เมื่อต้นเมษายน 2024 สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนในพื้นที่เพราะสารแคดเมียมเป็นสารก่อมะเร็ง สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการสูดดม การสัมผัส และการรับประทานผักผลไม้หรืออาหารที่อาจปนเปื้อนสารดังกล่าว โดยกากแคดเมียมเหล่านี้ได้สืบทราบว่ามาจากการขุดบ่อกลบในจังหวัดตากโดยบริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด ซึ่งต่อมา “ทริสเรทติ้ง ได้ประกาศ “เครดิตพินิจ” แนวโน้ม “Negative” หรือ “ลบ” ให้กับอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด โดยการประกาศเครดิตพินิจเกิดขึ้นจากการที่บริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์กากแคดเมียม อาจมีความเสี่ยงทางกฎหมายต่อบริษัทและอาจมีผลกระทบในเชิงลบเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาลของบริษัท (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ)

  • การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีปริมาณมากจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ในญี่ปุ่นเมื่อปี 2011 ทำให้ต้องมีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่กว่า 150,000 คน ส่งผลให้เมืองฟุกุชิมะ กลายเป็นเมืองร้าง เนื่องจากคนไม่สามารถย้ายกลับไปได้ หลายธุรกิจต้องปิดตัวลง ครอบครัวต้องพลัดถิ่น บริษัท โตเกียวอิเล็กทริก พาวเวอร์ (Tokyo Electric Power หรือ Tepco) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานนี้ต้องรับผิดชอบต่อค่าเสียหายเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์นี้ได้ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในอุตสาหกรรมพลังงานทั้งในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก

  • เคมบริดจ์ อนาลิติกา (Cambridge Analytica) ได้รับข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook กว่า 50 ล้านคน โดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อกิจกรรมและโฆษณาทางการเมือง และใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2016 เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ Cambridge Analytica ต้องปิดตัวลงและเจ้าของบริษัทล้มละลาย ทาง Facebook ต้องเข้าชี้แจงต่อ คณะกรรมาธิการตุลาการวุฒิสภา ในกรณีความปลอดภัย และแนวทางปฏิบัติการในการเก็บข้อมูลของ Facebook จากเหตุการณ์นี้ส่งผลให้หุ้นของ Facebook ตกลงถึง 7% สูญเสียสินทรัพย์ไปประมาณ 1.4 แสนล้านบาทในช่วงนั้น

เริ่มลงทุนในธุรกิจที่ยึดหลัก ESG อย่างไร 

  • สำหรับนักลงทุนที่มีเวลาหรือความสามารถในการศึกษาวิเคราะห์หลักทรัพย์ การลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจบนหลักการ ESG ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นักลงทุนสามารถหารายละเอียดนโยบายความยั่งยืนหรือ Sustainability Goal ได้จากเว็บไซต์ของบริษัท หรือ ตามข้อมูล SET ESG Ratings ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

  • กองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในบริษัทที่ยึดหลักการ ESG ค่อนข้างเป็นที่นิยมสำหรับนักลงทุนที่ไม่มีเวลาศึกษาวิเคราะห์หลักทรัพย์รายตัวและต้องการพึ่งมืออาชีพอย่าง Fund Manager นักลงทุนสามารถหาข้อมูลกองทุนรวม และ ETF ได้ไม่ยากผ่าน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือ Investment Platform ที่ใช้อยู่ 

    • นอกเหนือจากกองทุนรวม ESG ทั่วไป กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน หรือ ThaiESG ก็เป็นอีกกองทุนที่น่าสนใจเพราะมีทั้งหุ้นที่มี ESG ที่ดี และหุ้นกู้ประเภท ESG Bond อีกทั้งนักลงทุนสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ โดยระยะเวลาการลงทุน Thai ESG คือ 8 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อ

​​การลงทุนในธุรกิจที่ยึดหลัก ESG มีความเสี่ยงมั้ย

ถึงแม้การลงทุนแนว ESG จะมีข้อดีมากมาย นักลงทุนยังคงต้องศึกษาและเข้าใจความเสี่ยงเพื่อให้การลงทุนส่งผลกระทบเชิงบวกได้อย่างแท้จริง ความเสี่ยงและความท้าทายที่นักลงทุนต้องพิจารณาได้แก่

  • ความโปร่งใสและมาตรฐานของข้อมูล
    ข้อมูล ESG อาจมีความซับซ้อนและแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท จำเป็นต้องตรวจสอบแหล่งที่มาและวิธีการวัดผลให้รอบคอบ นอกจากนี้ มาตรฐาน ESG ยังอยู่ในช่วงพัฒนา มีหลายกรอบการประเมิน อาจทำให้สับสนในการเปรียบเทียบบริษัท

  • Greenwashing หรือ การฟอกเขียว
    บางบริษัทอาจโฆษณาตัวเองว่าเน้น ESG แต่แท้จริงแล้วยังมีจุดบกพร่องด้านสิ่งแวดล้อม สังคม หรือธรรมาภิบาล นักลงทุนจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลหลายๆด้านและติดตามความเคลื่อนไหวของบริษัทอย่างต่อเนื่อง

  • ผลตอบแทนในระยะสั้น
    ผลตอบแทนทางการเงินของการลงทุน ESG อาจไม่โดดเด่นในระยะสั้น แต่มีแนวโน้มดีในระยะยาว เนื่องจากบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมักจะมีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำกว่าและเติบโตในระยะยาวได้ดีกว่า

  • ความเสี่ยงเฉพาะตัว
    การลงทุน ESG อาจมีข้อจำกัดในการเลือกสรรค์หุ้น โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ จำเป็นต้องกระจายการลงทุนและพิจารณาความเสี่ยงเฉพาะตัวของแต่ละบริษัท

แนวทางในการลดความเสี่ยงและความท้าทายของการลงทุน ESG

นักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงและความท้าทายของการลงทุน ESG ได้โดย

  • เลือกลงทุนกับบริษัทที่มีข้อมูล ESG ที่โปร่งใสและน่าเชื่อถือ

  • ศึกษาข้อมูล ESG ของบริษัทอย่างรอบคอบ โดยไม่ยึดติดกับคำโฆษณาเพียงอย่างเดียว

  • กระจายการลงทุนในบริษัทต่างๆ

  • พิจารณาความเสี่ยงเฉพาะตัวของแต่ละบริษัท

การลงทุน ESG เป็นการลงทุนที่มีโอกาสเติบโตในระยะยาว อย่างไรก็ตาม นักลงทุนก็ควรตระหนักถึงปัจจัยความเสี่ยงและความท้าทายรอบด้าน ไม่ใช่เฉพาะด้าน ESG ด้านเดียว

สุดท้ายนี้ ถึงแม้การลงทุนในบริษัทที่ยึดหลักการ ESG สามารถให้ทั้งผลตอบแทนทางการเงินและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและสังคมให้มีคุณภาพและยั่งยืน นักลงทุนต้องไม่ลืมว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยงและนักลงทุนจะต้องเข้าใจความเสี่ยงก่อนลงทุน



ESG อนาคตของการลงทุน การลงทุนเพื่ออนาคต

ในยุคที่สิ่งแวดล้อมกำลังเผชิญต่อการคุกคามและสังคมกำลังเผชิญความท้าทายที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ นักลงทุนที่เชื่อว่าการแสวงหาผลกำไรจากการลงทุนเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะทำให้ชีวิตมีความสุขและนี่คือที่มาของ Theme การลงทุน “Socially Responsible Investing (SRI)” ที่คำนึงถึงทั้งผลตอบแทนทางการเงินและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

SRI เป็นหลักการลงทุนที่มีความเชื่อว่าการลงทุนไม่ควรที่จะสร้างผลตอบแทนทางการเงินเพียงอย่างเดียว แต่ควรต้องมีผลดีหรือไม่สร้างผลกระทบที่ไม่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดย SRI เชื่อว่าการลงทุนสามารถเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่ดีและนักลงทุนมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของธุรกิจ อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ

ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจจึงเริ่มปรับกลยุทธ์ให้ตอบสนองและสอดคล้องกับหลักการ SRI และนี่คือที่มาของหลักการพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืนโดยยึด สิ่งแวดล้อม สังคม และ บรรษัทภิบาล หรือ Environmental, Social and Governance (ESG) เป็นหลักในการดำเนินธุรกิจ

ESG คืออะไร

จริงอยู่ว่า ESG หรือ Environmental, Social and Governance  นั้นไม่ได้แปลว่า "กำไร" โดยตรง แต่หลักการ ESG นั้น มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ธุรกิจบริหารความเสี่ยง และนำไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาว  ซึ่งส่งผลดีต่อผลประกอบการโดยรวมดังนี้

1.  ESG ช่วยบริหารความเสี่ยงเชิงลึก

ธุรกิจที่คำนึงถึง ESG  ย่อมตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานต่อ สิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล ตัวอย่างเช่น

  • ด้านสิ่งแวดล้อม: การปล่อยมลพิษอาจนำไปสู่ค่าปรับ กฎระเบียบที่เข้มงวด หรือภาพลักษณ์ที่เสียหายต่อบริษัท

  • ด้านสังคม: สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย หรือ การละเมิดสิทธิมนุษยชน อาจส่งผลต่อชื่อเสียง ความสัมพันธ์กับพนักงานและลูกค้า

  • ด้านบรรษัทภิบาล: การทุจริต การขาดความโปร่งใส อาจนำไปสู่ความสูญเสียความเชื่อมั่นจากนักลงทุน

การมีนโยบาย ESG สามารถช่วยให้ธุรกิจประเมินและวางแผนรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสเกิดวิกฤต และสร้างความมั่นคงในระยะยาว

2.  ESG สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่

ESG ไม่ได้เป็นเพียงข้อจำกัด แต่ยังเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆให้กับองค์กรที่คำนึงถึงหลักการเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น

  • ด้านสิ่งแวดล้อม: ธุรกิจที่พัฒนานวัตกรรม สินค้า หรือบริการ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อมได้รับความสนใจจากผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และมีโอกาสเติบโตในตลาดสีเขียว

  • ด้านสังคม: ธุรกิจที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน สนับสนุนชุมชน สร้างโอกาสให้กับกลุ่มด้อยโอกาส ย่อมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ดึงดูดพนักงานที่มีคุณภาพ และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า

  • ด้านบรรษัทภิบาล: ธุรกิจที่มีธรรมาภิบาล บริหารจัดการอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความน่าเชื่อถือ ดึงดูดนักลงทุน และสร้างความมั่นคงทางการเงิน

3.  ESG สร้างความยั่งยืนในระยะยาว

ธุรกิจที่อยากมีความยั่งยืนอยู่คุ่กับสังคมไปนานๆ คงไม่ใด้แค่อยากแสวงหาผลกำไรระยะสั้น แต่มุ่งมั่นที่จะเติบโตไปในแนวทางที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล ESG จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานอย่างมีความรับผิดชอบ สร้างสมดุลระหว่างผลกำไร ผลตอบแทนต่อผู้มีส่วนได้เสีย และความยั่งยืนในระยะยาว ตัวอย่างบริษัทที่ได้รับการยกย่องในด้าน ESG คือ

  • บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านศูนย์การค้าสีเขียว ผ่านมาตรการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรม เช่น การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน การบำบัดน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และ การจัดการขยะอย่างยั่งยืน

  • บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และสนับสนุนชุมชน

  • บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลที่แข็งแรงโดยมีการกำหนดมาตรการการปกป้องข้อมูลส่วนตัวจนถึงการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของลูกค้า และสร้างการเข้าถึงบริการดิจิทัลให้ทุกคนในสังคมผ่านการสร้างคุณค่าให้แก่สังคมทุกกลุ่ม

การลงทุนในธุรกิจที่เคารพและดำเนินงานภายใต้นโยบาย ESG จึงไม่ใช่แค่การลงทุนเพื่อแสวงหาผลกำไรทางการเงินอย่างเดียว แต่ยังเป็นการสนับสนุนธุรกิจที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

จะรู้ได้อย่างไรว่าธุรกิจไหนใช้หลักการ ESG ในการดำเนินธุรกิจ

  • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเริ่มทำ SET ESG Ratings ในปี 2023 เพื่อให้นักลงทุนใช้เปรียบเทียบผลการดำเนินงานด้าน ESG ของแต่ละบริษัท โดยในปีแรกนั้น มีบริษัทจดทะเบียน 193 บริษัทที่ผ่านการคัดเลือกและได้รับ SET ESG Ratings นักลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้ที่หน้าเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 

  • ข้อมูลจาก ESG Rating Agency อาทิเช่น MSCI ESG Ratings, Sustainalytics' ESG Risk Ratings และ Bloomberg ESG Disclosures Scores เป็นต้น

  • ข้อมูลจากบริษัทเอง ซึ่งบริษัทที่เคร่งครัดและเห็นความสำคัญด้าน ESG จะเปิดเผยอย่างโปร่งใสในหน้าเว็บไซต์ของบริษัทถึงนโยบายการดำเนินงานที่มุ่งเน้นผลตอบแทนที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น 3 บริษัทที่ได้กล่าวถึงเบื้องต้น

อะไรจะเกิดขึ้นหากธุรกิจละเลยหลักการ ESG ในการดำเนินธุรกิจ

ตัวอย่างเหตุการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นหากธุรกิจละเลย ESG

  • การตรวจพบกากแคดเมียมจำนวนมากที่ถูกซุกซ่อนในโกดังต่างๆในจังหวัดสมุทรสาคร ชลบุรี และกรุงเทพฯ เมื่อต้นเมษายน 2024 สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนในพื้นที่เพราะสารแคดเมียมเป็นสารก่อมะเร็ง สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการสูดดม การสัมผัส และการรับประทานผักผลไม้หรืออาหารที่อาจปนเปื้อนสารดังกล่าว โดยกากแคดเมียมเหล่านี้ได้สืบทราบว่ามาจากการขุดบ่อกลบในจังหวัดตากโดยบริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด ซึ่งต่อมา “ทริสเรทติ้ง ได้ประกาศ “เครดิตพินิจ” แนวโน้ม “Negative” หรือ “ลบ” ให้กับอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด โดยการประกาศเครดิตพินิจเกิดขึ้นจากการที่บริษัทมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์กากแคดเมียม อาจมีความเสี่ยงทางกฎหมายต่อบริษัทและอาจมีผลกระทบในเชิงลบเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาลของบริษัท (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ)

  • การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีปริมาณมากจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ในญี่ปุ่นเมื่อปี 2011 ทำให้ต้องมีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่กว่า 150,000 คน ส่งผลให้เมืองฟุกุชิมะ กลายเป็นเมืองร้าง เนื่องจากคนไม่สามารถย้ายกลับไปได้ หลายธุรกิจต้องปิดตัวลง ครอบครัวต้องพลัดถิ่น บริษัท โตเกียวอิเล็กทริก พาวเวอร์ (Tokyo Electric Power หรือ Tepco) ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานนี้ต้องรับผิดชอบต่อค่าเสียหายเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์นี้ได้ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในอุตสาหกรรมพลังงานทั้งในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก

  • เคมบริดจ์ อนาลิติกา (Cambridge Analytica) ได้รับข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook กว่า 50 ล้านคน โดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อกิจกรรมและโฆษณาทางการเมือง และใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2016 เหตุการณ์นี้ส่งผลให้ Cambridge Analytica ต้องปิดตัวลงและเจ้าของบริษัทล้มละลาย ทาง Facebook ต้องเข้าชี้แจงต่อ คณะกรรมาธิการตุลาการวุฒิสภา ในกรณีความปลอดภัย และแนวทางปฏิบัติการในการเก็บข้อมูลของ Facebook จากเหตุการณ์นี้ส่งผลให้หุ้นของ Facebook ตกลงถึง 7% สูญเสียสินทรัพย์ไปประมาณ 1.4 แสนล้านบาทในช่วงนั้น

เริ่มลงทุนในธุรกิจที่ยึดหลัก ESG อย่างไร 

  • สำหรับนักลงทุนที่มีเวลาหรือความสามารถในการศึกษาวิเคราะห์หลักทรัพย์ การลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจบนหลักการ ESG ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นักลงทุนสามารถหารายละเอียดนโยบายความยั่งยืนหรือ Sustainability Goal ได้จากเว็บไซต์ของบริษัท หรือ ตามข้อมูล SET ESG Ratings ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

  • กองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในบริษัทที่ยึดหลักการ ESG ค่อนข้างเป็นที่นิยมสำหรับนักลงทุนที่ไม่มีเวลาศึกษาวิเคราะห์หลักทรัพย์รายตัวและต้องการพึ่งมืออาชีพอย่าง Fund Manager นักลงทุนสามารถหาข้อมูลกองทุนรวม และ ETF ได้ไม่ยากผ่าน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือ Investment Platform ที่ใช้อยู่ 

    • นอกเหนือจากกองทุนรวม ESG ทั่วไป กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน หรือ ThaiESG ก็เป็นอีกกองทุนที่น่าสนใจเพราะมีทั้งหุ้นที่มี ESG ที่ดี และหุ้นกู้ประเภท ESG Bond อีกทั้งนักลงทุนสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ โดยระยะเวลาการลงทุน Thai ESG คือ 8 ปีเต็มนับจากวันที่ซื้อ

​​การลงทุนในธุรกิจที่ยึดหลัก ESG มีความเสี่ยงมั้ย

ถึงแม้การลงทุนแนว ESG จะมีข้อดีมากมาย นักลงทุนยังคงต้องศึกษาและเข้าใจความเสี่ยงเพื่อให้การลงทุนส่งผลกระทบเชิงบวกได้อย่างแท้จริง ความเสี่ยงและความท้าทายที่นักลงทุนต้องพิจารณาได้แก่

  • ความโปร่งใสและมาตรฐานของข้อมูล
    ข้อมูล ESG อาจมีความซับซ้อนและแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท จำเป็นต้องตรวจสอบแหล่งที่มาและวิธีการวัดผลให้รอบคอบ นอกจากนี้ มาตรฐาน ESG ยังอยู่ในช่วงพัฒนา มีหลายกรอบการประเมิน อาจทำให้สับสนในการเปรียบเทียบบริษัท

  • Greenwashing หรือ การฟอกเขียว
    บางบริษัทอาจโฆษณาตัวเองว่าเน้น ESG แต่แท้จริงแล้วยังมีจุดบกพร่องด้านสิ่งแวดล้อม สังคม หรือธรรมาภิบาล นักลงทุนจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลหลายๆด้านและติดตามความเคลื่อนไหวของบริษัทอย่างต่อเนื่อง

  • ผลตอบแทนในระยะสั้น
    ผลตอบแทนทางการเงินของการลงทุน ESG อาจไม่โดดเด่นในระยะสั้น แต่มีแนวโน้มดีในระยะยาว เนื่องจากบริษัทที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมักจะมีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำกว่าและเติบโตในระยะยาวได้ดีกว่า

  • ความเสี่ยงเฉพาะตัว
    การลงทุน ESG อาจมีข้อจำกัดในการเลือกสรรค์หุ้น โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ จำเป็นต้องกระจายการลงทุนและพิจารณาความเสี่ยงเฉพาะตัวของแต่ละบริษัท

แนวทางในการลดความเสี่ยงและความท้าทายของการลงทุน ESG

นักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงและความท้าทายของการลงทุน ESG ได้โดย

  • เลือกลงทุนกับบริษัทที่มีข้อมูล ESG ที่โปร่งใสและน่าเชื่อถือ

  • ศึกษาข้อมูล ESG ของบริษัทอย่างรอบคอบ โดยไม่ยึดติดกับคำโฆษณาเพียงอย่างเดียว

  • กระจายการลงทุนในบริษัทต่างๆ

  • พิจารณาความเสี่ยงเฉพาะตัวของแต่ละบริษัท

การลงทุน ESG เป็นการลงทุนที่มีโอกาสเติบโตในระยะยาว อย่างไรก็ตาม นักลงทุนก็ควรตระหนักถึงปัจจัยความเสี่ยงและความท้าทายรอบด้าน ไม่ใช่เฉพาะด้าน ESG ด้านเดียว

สุดท้ายนี้ ถึงแม้การลงทุนในบริษัทที่ยึดหลักการ ESG สามารถให้ทั้งผลตอบแทนทางการเงินและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและสังคมให้มีคุณภาพและยั่งยืน นักลงทุนต้องไม่ลืมว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยงและนักลงทุนจะต้องเข้าใจความเสี่ยงก่อนลงทุน

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดก็ตาม เว็บไซต์นั้นอาจจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของ cookie ข้อมูลเหล่านี้อาจเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน หรือเพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานอย่างที่ท่านต้องการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้โดยตรง แต่ช่วยให้ท่านใช้งานเว็บตามความต้องการส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น โดยที่เราเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน ท่านสามารถปิดการทำงานของ cookie บางประเภทได้ โปรดคลิกที่หัวข้อประเภทอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นในการใช้งาน cookie อย่างไรก็ตาม ท่านควรทราบว่าการปิดการทำงานของ cookie บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการของเรา

ยอมรับทั้งหมด

จัดการการกำหนดลักษณะความยินยอม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ เช่น การรักษาความปลอดภัย คุณสามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ได้ด้วยการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ แต่การตั้งค่าดังกล่าวอาจส่งผลต่อการทำงานของเว็บไซต์
รายละเอียดคุกกี้

คุกกี้ในส่วนการตลาด

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อการนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของผู้ใช้บริการแต่ละราย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานคุกกี้ชนิดนี้ สามารถดูได้ที่นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ยืนยันตัวเลือกของฉัน
Cookie Domain Description
XSRF-TOKEN www.investree.co.th คุกกี้นี้ตั้งค่าโดย Wix และใช้เพื่อความปลอดภัย
laravel_session www.investree.co.th laravel ใช้ laravel_session เพื่อระบุอินสแตนซ์ของเซสชันสำหรับผู้ใช้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้
_gat .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ได้รับการติดตั้งโดย Google Universal Analytics เพื่อจำกัดอัตราคำขอและจำกัดการรวบรวมข้อมูลบนไซต์ที่มีการเข้าชมสูง
_ga .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ซึ่งติดตั้งโดย Google Analytics จะคำนวณข้อมูลผู้เข้าชม เซสชัน และแคมเปญ และยังติดตามการใช้งานไซต์สำหรับรายงานการวิเคราะห์ของไซต์ คุกกี้เก็บข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนและกำหนดหมายเลขที่สร้างขึ้นแบบสุ่มเพื่อระบุผู้เยี่ยมชมที่ไม่ซ้ำ
_gid .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ติดตั้งโดย Google Analytics คุกกี้ _gid จะเก็บข้อมูลว่าผู้เยี่ยมชมใช้งานเว็บไซต์อย่างไร ในขณะเดียวกันก็สร้างรายงานการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย ข้อมูลบางส่วนที่เก็บรวบรวม ได้แก่ จำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่เข้าชมโดยไม่ระบุตัวตน

 

ลงทะเบียน | นักลงทุน 



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Syariah financing funding Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Personal Loan Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Business Loan Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Syariah Business Financing Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Referrer Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Issuer Registration



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Pendaftaran Reseller Financing



Sudah punya akun? Login

ลืมรหัสผ่าน

Loan Solutions

Choose what suits your needs


Personal loan for daily needs

Borrow Up to:
บาท 50.000.000
  • Home Improvement
  • Educational loans
  • Vacation Loan
  • Wedding Loans
  • Medical Fees
  • Umroh's Journey
Make Your Dreams Come True

Business Loans as an Invoice Financing solution

Borrow Up to:
บาท 2.000.000.000
  • Interest ranging from 14%
  • Full funding within 72 hours
  • Transparent
Make Your Dreams Come True