จะทำอย่างไร เมื่อหุ้นกู้ที่ลงทุนผิดนัดชำระ

ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นกู้ คือการที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยได้ตามวันเวลาที่กำหนด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ส่งผลให้นักลงทุนในฐานะเจ้าหนี้ สูญเสียเงินต้นและดอกเบี้ยบางส่วนหรือทั้งหมด จากตัวอย่างหุ้นกู้ผิดนัดชำระที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่น 

  • หุ้นกู้ของบริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ (ALL) ผิดนัดชำระหุ้นกู้จำนวน 7 ชุด เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566  คิดเป็นมูลค่า 2.4 พันล้านบาท 
  • หุ้นกู้ของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) ผิดนัดชำระหุ้นกู้จำนวน 5 ชุด เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2566 คิดเป็นมูลค่า 9.2 พันล้านบาท 
  • หุ้นกู้ของบริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย (JKN) ผิดนัดชำระหุ้นกู้จำนวน 1 ชุด เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2566 คิดเป็นมูลค่า 452 ล้านบาท

บทความนี้จะมาอธิบายขั้นตอนสำคัญที่นักลงทุนควรปฎิบัติเมื่อเจอเหตุการณ์หุ้นกู้ที่ซื้อไว้ผิดนัดชำระ พร้อมวิธีบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ในการลงทุนหุ้นกู้เพื่อให้ผลกระทบจากการผิดนัดชำระเกิดขึ้นได้น้อยที่สุด

วิธีปฏิบัติเมื่อหุ้นกู้ที่ซื้อไว้ผิดนัดชำระ

1. ตรวจสอบข้อกำหนดของหุ้นกู้

นักลงทุนควรตรวจสอบข้อกำหนดของหุ้นกู้ดังต่อไปนี้

  • ข้อกำหนดสิทธิของหุ้นกู้ อาทิเช่น อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาการชำระหนี้ และหลักประกัน 
  • ข้อมูลลำดับการชำระหนี้ เพื่อทราบถึงลำดับที่นักลงทุนจะได้รับการชำระหนี้คืนในกรณีที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้ล้มละลาย อาทิเช่น
    • หุ้นกู้มีประกัน คือ หุ้นกู้ที่มีสินทรัพย์เป็นหลักประกันในการชำระหนี้ โดยผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ตามสินทรัพย์หลักประกันเหนือเจ้าหนี้รายอื่น
    • หุ้นกู้ไม่มีประกันและไม่ด้อยสิทธิ คือ หุ้นกู้ที่ไม่ได้กำหนดให้มีหลักประกันในการชำระหนี้คืน โดยผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้เท่ากับเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
    • หุ้นกู้ไม่มีประกันและด้อยสิทธิ คือ หุ้นกู้ที่ไม่ได้กำหนดให้มีหลักประกันในการชำระหนี้คืนและผู้ถือมีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ในอันดับหลังจากเจ้าหนี้สามัญ แต่จะมีสิทธิ์สูงกว่าผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์และหุ้นสามัญในการเรียกร้องสินทรัพย์จากผู้ออก
    • หุ้นสามัญ คือ ผู้ถือหุ้นซึ่งเปรียบได้กับเจ้าของกิจการมีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นลำดับสุดท้าย

นักลงทุนสามารถค้นหา ข้อกำหนดสิทธิของหุ้นกู้ และ ข้อมูลลำดับการชำระหนี้รวมถึงข้อมูลอื่นๆของหุ้นกู้ได้จากทางแอปพลิเคชัน SEC Bond Check หรือ เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต

2. ติดตามข่าวสารจากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้

ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (Bond หรือ Debenture Holder Representative) เป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นกู้ในการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้ ผู้ถือหุ้นกู้ควรติดตามข่าวสารจากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้อย่างใกล้ชิดเพื่อทราบถึงการดำเนินการต่างๆ ที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กำลังดำเนินการ 

โดยหน้าที่หลักของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ประกอบไปด้วย

  • ประสานงานกับผู้ออกหุ้นกู้เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา 

ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะประสานงานกับผู้ออกหุ้นกู้เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ โดยอาจหารือแนวทางการแก้ไขหนี้ด้วยการขยายเวลาชำระหนี้ หรือขอความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินหรือหน่วยงานรัฐ

  • เรียกร้องให้ชำระหนี้

ในกรณีที่การเจรจากับผู้ออกหุ้นกู้ไม่เป็นผล ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะทำการเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามกำหนดเวลา โดยอาจส่งหนังสือทวงถามหรือดำเนินการฟ้องร้องคดี

  • บังคับหลักประกัน

ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้มีหลักประกัน เช่น สินทรัพย์หรือเงินสด ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้อาจดำเนินการบังคับหลักประกันเพื่อนำเงินมาใช้ชำระหนี้ให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้

  • ดำเนินคดีกับผู้ออกหุ้นกู้

ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้อาจดำเนินคดีกับผู้ออกหุ้นกู้เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้

โดยชื่อของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะระบุอยู่ใน factsheet ซึ่งนักลงทุนสามารถค้นหาได้จากทางแอปพลิเคชัน SEC Bond Check หรือ เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต

ในกรณีของหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง อินเวสทรีจะเป็นตัวกลาง (Funding Portal) ในการประสานงานติดต่อตัวแทนผู้ถือหุ้น เพื่อนัดประชุม เรียกร้องการชำระหนี้กับผู้ออกหุ้นกู้ และคัดเลือกผู้มาดำเนินคดีในกรณีผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ตามมติการประชุมผู้ถือหุ้นกู้

3. เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นกู้

ผู้ถือหุ้นกู้ควรเข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ที่จัดขึ้นโดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้ทราบถึงการดำเนินการต่างๆที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กำลังดำเนินการ ทั้งนี้ ควรศึกษาเอกสารการประชุมอย่างละเอียดก่อนการตัดสินใจลงมติเพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ให้มากที่สุด

4. พิจารณาดำเนินการฟ้องร้องผู้ออกหุ้นกู้

ในกรณีที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ไม่สามารถดำเนินการใดๆ เพื่อเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ ผู้ถือหุ้นกู้อาจพิจารณาดำเนินการฟ้องร้องผู้ออกหุ้นกู้เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายด้วยตัวเอง
ถึงแม้ว่านักลงทุนจะไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหุ้นกู้ได้ แต่นักลงทุนสามารถบริหารความเสี่ยงได้ในระดับนึงโดยใช้ข้อปฎิบัติต่อไปนี้

วิธีการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนหุ้นกู้

1. ศึกษาข้อมูลเชิงลึกและประเมินความเสี่ยง

ทำความเข้าใจหุ้นกู้ที่ลงทุนพร้อมกับศึกษาข้อมูลของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้อย่างละเอียด เช่น 

  • ข้อมูลบริษัท
  • สถานะทางการเงิน
  • งบกระแสเงินสด
  • ความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร
  • ประเภทของหุ้นกู้
  • อัตราดอกเบี้ย
  • สภาพเศรษฐกิจ

นอกจากนี้นักลงทุนควรทำความเข้าใจกับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ เพื่อลงทุนในหุ้นกู้ที่เหมาะสม เช่นหากลงทุนในหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงก็จะตามมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงตามไปด้วย (High Risk High Return)

2. ทำความเข้าใจเครดิตเรทติ้ง

เครดิตเรทติ้ง (Credit Rating) คือ การประเมินความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agency) จะมี 2 แบบคือ เครดิตเรทติ้งผู้ออกหุ้นกู้ และ เครดิตเรทติ้งหุ้นกู้ 

  • เครดิตเรทติ้งผู้ออกหุ้นกู้

เป็นการสะท้อนความน่าเชื่อถือด้านเครดิตโดยรวมของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ เช่น ลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัท ผลประกอบการ รวมถึงปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท

  • เครดิตเรทติ้งหุ้นกู้

เป็นการสะท้อนความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่ออกจำหน่าย โดยพิจารณาจากปัจจัยเฉพาะตัวของหุ้นกู้ เช่น ลำดับสิทธิเรียกร้องในการชำระหนี้ของหุ้นกู้ตามลักษณะ เครดิตเรทติ้งหุ้นกู้จะสะท้อนความเสี่ยงการผิดนัดชำระได้ชัดเจนกว่าเครดิตเรทติ้งผู้ออกหุ้นกู้เนื่องจากพิจารณาจากปัจจัยเฉพาะตัวของหุ้นกู้เพิ่มเติมขึ้นจากเครดิตเรทติ้งบริษัท 

เครดิตเรทติ้งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเพื่อสะท้อนถึงปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ผลการดำเนินงานของบริษัท แนวโน้มเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจกระทบต่อความสามารถในการดำเนินกิจการของบริษัท 

3. การกระจายความเสี่ยง

การลงทุนในหุ้นกู้มีความเสี่ยงสูง ดังนั้นนักลงทุนควรกระจายความเสี่ยงด้วยการแบ่งการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์หนึ่งมากเกินไปเช่น การลงทุนในหุ้นกู้จากหลายอุตสาหกรรม หรือการลงทุนในสินทรัพย์อื่นควบคู่กัน เช่น หุ้น กองทุนรวม หรือ พันธบัตรรัฐบาล เพื่อลดความสูญเสียของพอร์ตลงทุนหากหุ้นกู้ผิดนัดชำระ

4. ลงทุนผ่านแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้

นักลงทุนควรมองหาแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมในการลงทุนมีความปลอดภัยและโปร่งใสมากขึ้น โดยนักลงทุนควรเลือกแพลตฟอร์มที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

อินเวสทรี เป็น Funding Portal ที่ได้รับความเห็นชอบจาก กลต. ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ขอออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงกับนักลงทุน มีหน้าที่ในการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ออกหุ้นกู้ บริหารจัดการการออกหุ้นกู้ รวมไปถึงการอำนวยความสะดวกในการชำระคืนค่าหุ้นกู้แก่นักลงทุน

อย่างไรก็ตาม หุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นหุ้นกู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันและเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง นักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นกู้คราวฟันดิงจึงควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงนี้และควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่



จะทำอย่างไร เมื่อหุ้นกู้ที่ลงทุนผิดนัดชำระ

ความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นกู้ คือการที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยได้ตามวันเวลาที่กำหนด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ส่งผลให้นักลงทุนในฐานะเจ้าหนี้ สูญเสียเงินต้นและดอกเบี้ยบางส่วนหรือทั้งหมด จากตัวอย่างหุ้นกู้ผิดนัดชำระที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่น 

  • หุ้นกู้ของบริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ (ALL) ผิดนัดชำระหุ้นกู้จำนวน 7 ชุด เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566  คิดเป็นมูลค่า 2.4 พันล้านบาท 
  • หุ้นกู้ของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) ผิดนัดชำระหุ้นกู้จำนวน 5 ชุด เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2566 คิดเป็นมูลค่า 9.2 พันล้านบาท 
  • หุ้นกู้ของบริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย (JKN) ผิดนัดชำระหุ้นกู้จำนวน 1 ชุด เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2566 คิดเป็นมูลค่า 452 ล้านบาท

บทความนี้จะมาอธิบายขั้นตอนสำคัญที่นักลงทุนควรปฎิบัติเมื่อเจอเหตุการณ์หุ้นกู้ที่ซื้อไว้ผิดนัดชำระ พร้อมวิธีบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ในการลงทุนหุ้นกู้เพื่อให้ผลกระทบจากการผิดนัดชำระเกิดขึ้นได้น้อยที่สุด

วิธีปฏิบัติเมื่อหุ้นกู้ที่ซื้อไว้ผิดนัดชำระ

1. ตรวจสอบข้อกำหนดของหุ้นกู้

นักลงทุนควรตรวจสอบข้อกำหนดของหุ้นกู้ดังต่อไปนี้

  • ข้อกำหนดสิทธิของหุ้นกู้ อาทิเช่น อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาการชำระหนี้ และหลักประกัน 
  • ข้อมูลลำดับการชำระหนี้ เพื่อทราบถึงลำดับที่นักลงทุนจะได้รับการชำระหนี้คืนในกรณีที่บริษัทผู้ออกหุ้นกู้ล้มละลาย อาทิเช่น
    • หุ้นกู้มีประกัน คือ หุ้นกู้ที่มีสินทรัพย์เป็นหลักประกันในการชำระหนี้ โดยผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ตามสินทรัพย์หลักประกันเหนือเจ้าหนี้รายอื่น
    • หุ้นกู้ไม่มีประกันและไม่ด้อยสิทธิ คือ หุ้นกู้ที่ไม่ได้กำหนดให้มีหลักประกันในการชำระหนี้คืน โดยผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้เท่ากับเจ้าหนี้สามัญทั่วไป
    • หุ้นกู้ไม่มีประกันและด้อยสิทธิ คือ หุ้นกู้ที่ไม่ได้กำหนดให้มีหลักประกันในการชำระหนี้คืนและผู้ถือมีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้ในอันดับหลังจากเจ้าหนี้สามัญ แต่จะมีสิทธิ์สูงกว่าผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์และหุ้นสามัญในการเรียกร้องสินทรัพย์จากผู้ออก
    • หุ้นสามัญ คือ ผู้ถือหุ้นซึ่งเปรียบได้กับเจ้าของกิจการมีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นลำดับสุดท้าย

นักลงทุนสามารถค้นหา ข้อกำหนดสิทธิของหุ้นกู้ และ ข้อมูลลำดับการชำระหนี้รวมถึงข้อมูลอื่นๆของหุ้นกู้ได้จากทางแอปพลิเคชัน SEC Bond Check หรือ เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต

2. ติดตามข่าวสารจากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้

ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ (Bond หรือ Debenture Holder Representative) เป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นกู้ในการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ผิดนัดชำระหนี้ ผู้ถือหุ้นกู้ควรติดตามข่าวสารจากผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้อย่างใกล้ชิดเพื่อทราบถึงการดำเนินการต่างๆ ที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กำลังดำเนินการ 

โดยหน้าที่หลักของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ประกอบไปด้วย

  • ประสานงานกับผู้ออกหุ้นกู้เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา 

ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะประสานงานกับผู้ออกหุ้นกู้เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ โดยอาจหารือแนวทางการแก้ไขหนี้ด้วยการขยายเวลาชำระหนี้ หรือขอความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินหรือหน่วยงานรัฐ

  • เรียกร้องให้ชำระหนี้

ในกรณีที่การเจรจากับผู้ออกหุ้นกู้ไม่เป็นผล ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะทำการเรียกร้องให้ชำระหนี้ตามกำหนดเวลา โดยอาจส่งหนังสือทวงถามหรือดำเนินการฟ้องร้องคดี

  • บังคับหลักประกัน

ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้มีหลักประกัน เช่น สินทรัพย์หรือเงินสด ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้อาจดำเนินการบังคับหลักประกันเพื่อนำเงินมาใช้ชำระหนี้ให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้

  • ดำเนินคดีกับผู้ออกหุ้นกู้

ในกรณีที่ผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้อาจดำเนินคดีกับผู้ออกหุ้นกู้เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้

โดยชื่อของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้จะระบุอยู่ใน factsheet ซึ่งนักลงทุนสามารถค้นหาได้จากทางแอปพลิเคชัน SEC Bond Check หรือ เว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต

ในกรณีของหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง อินเวสทรีจะเป็นตัวกลาง (Funding Portal) ในการประสานงานติดต่อตัวแทนผู้ถือหุ้น เพื่อนัดประชุม เรียกร้องการชำระหนี้กับผู้ออกหุ้นกู้ และคัดเลือกผู้มาดำเนินคดีในกรณีผู้ออกหุ้นกู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ตามมติการประชุมผู้ถือหุ้นกู้

3. เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นกู้

ผู้ถือหุ้นกู้ควรเข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ที่จัดขึ้นโดยผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อให้ทราบถึงการดำเนินการต่างๆที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้กำลังดำเนินการ ทั้งนี้ ควรศึกษาเอกสารการประชุมอย่างละเอียดก่อนการตัดสินใจลงมติเพื่อรักษาสิทธิและผลประโยชน์ให้มากที่สุด

4. พิจารณาดำเนินการฟ้องร้องผู้ออกหุ้นกู้

ในกรณีที่ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ไม่สามารถดำเนินการใดๆ เพื่อเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ ผู้ถือหุ้นกู้อาจพิจารณาดำเนินการฟ้องร้องผู้ออกหุ้นกู้เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายด้วยตัวเอง
ถึงแม้ว่านักลงทุนจะไม่สามารถกำจัดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหุ้นกู้ได้ แต่นักลงทุนสามารถบริหารความเสี่ยงได้ในระดับนึงโดยใช้ข้อปฎิบัติต่อไปนี้

วิธีการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนหุ้นกู้

1. ศึกษาข้อมูลเชิงลึกและประเมินความเสี่ยง

ทำความเข้าใจหุ้นกู้ที่ลงทุนพร้อมกับศึกษาข้อมูลของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้อย่างละเอียด เช่น 

  • ข้อมูลบริษัท
  • สถานะทางการเงิน
  • งบกระแสเงินสด
  • ความน่าเชื่อถือของผู้บริหาร
  • ประเภทของหุ้นกู้
  • อัตราดอกเบี้ย
  • สภาพเศรษฐกิจ

นอกจากนี้นักลงทุนควรทำความเข้าใจกับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ เพื่อลงทุนในหุ้นกู้ที่เหมาะสม เช่นหากลงทุนในหุ้นกู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงก็จะตามมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงตามไปด้วย (High Risk High Return)

2. ทำความเข้าใจเครดิตเรทติ้ง

เครดิตเรทติ้ง (Credit Rating) คือ การประเมินความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating Agency) จะมี 2 แบบคือ เครดิตเรทติ้งผู้ออกหุ้นกู้ และ เครดิตเรทติ้งหุ้นกู้ 

  • เครดิตเรทติ้งผู้ออกหุ้นกู้

เป็นการสะท้อนความน่าเชื่อถือด้านเครดิตโดยรวมของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ เช่น ลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัท ผลประกอบการ รวมถึงปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัท

  • เครดิตเรทติ้งหุ้นกู้

เป็นการสะท้อนความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ที่ออกจำหน่าย โดยพิจารณาจากปัจจัยเฉพาะตัวของหุ้นกู้ เช่น ลำดับสิทธิเรียกร้องในการชำระหนี้ของหุ้นกู้ตามลักษณะ เครดิตเรทติ้งหุ้นกู้จะสะท้อนความเสี่ยงการผิดนัดชำระได้ชัดเจนกว่าเครดิตเรทติ้งผู้ออกหุ้นกู้เนื่องจากพิจารณาจากปัจจัยเฉพาะตัวของหุ้นกู้เพิ่มเติมขึ้นจากเครดิตเรทติ้งบริษัท 

เครดิตเรทติ้งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเพื่อสะท้อนถึงปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ผลการดำเนินงานของบริษัท แนวโน้มเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจกระทบต่อความสามารถในการดำเนินกิจการของบริษัท 

3. การกระจายความเสี่ยง

การลงทุนในหุ้นกู้มีความเสี่ยงสูง ดังนั้นนักลงทุนควรกระจายความเสี่ยงด้วยการแบ่งการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์หนึ่งมากเกินไปเช่น การลงทุนในหุ้นกู้จากหลายอุตสาหกรรม หรือการลงทุนในสินทรัพย์อื่นควบคู่กัน เช่น หุ้น กองทุนรวม หรือ พันธบัตรรัฐบาล เพื่อลดความสูญเสียของพอร์ตลงทุนหากหุ้นกู้ผิดนัดชำระ

4. ลงทุนผ่านแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้

นักลงทุนควรมองหาแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ เพื่อทำให้สภาพแวดล้อมในการลงทุนมีความปลอดภัยและโปร่งใสมากขึ้น โดยนักลงทุนควรเลือกแพลตฟอร์มที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

อินเวสทรี เป็น Funding Portal ที่ได้รับความเห็นชอบจาก กลต. ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ขอออกหุ้นกู้คราวด์ฟันดิงกับนักลงทุน มีหน้าที่ในการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ออกหุ้นกู้ บริหารจัดการการออกหุ้นกู้ รวมไปถึงการอำนวยความสะดวกในการชำระคืนค่าหุ้นกู้แก่นักลงทุน

อย่างไรก็ตาม หุ้นกู้คราวด์ฟันดิงเป็นหุ้นกู้ที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันและเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง นักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นกู้คราวฟันดิงจึงควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงนี้และควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดก็ตาม เว็บไซต์นั้นอาจจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของ cookie ข้อมูลเหล่านี้อาจเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน หรือเพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานอย่างที่ท่านต้องการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้โดยตรง แต่ช่วยให้ท่านใช้งานเว็บตามความต้องการส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น โดยที่เราเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน ท่านสามารถปิดการทำงานของ cookie บางประเภทได้ โปรดคลิกที่หัวข้อประเภทอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นในการใช้งาน cookie อย่างไรก็ตาม ท่านควรทราบว่าการปิดการทำงานของ cookie บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการของเรา

ยอมรับทั้งหมด

จัดการการกำหนดลักษณะความยินยอม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ เช่น การรักษาความปลอดภัย คุณสามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ได้ด้วยการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ แต่การตั้งค่าดังกล่าวอาจส่งผลต่อการทำงานของเว็บไซต์
รายละเอียดคุกกี้

คุกกี้ในส่วนการตลาด

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อการนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของผู้ใช้บริการแต่ละราย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานคุกกี้ชนิดนี้ สามารถดูได้ที่นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ยืนยันตัวเลือกของฉัน
Cookie Domain Description
XSRF-TOKEN www.investree.co.th คุกกี้นี้ตั้งค่าโดย Wix และใช้เพื่อความปลอดภัย
laravel_session www.investree.co.th laravel ใช้ laravel_session เพื่อระบุอินสแตนซ์ของเซสชันสำหรับผู้ใช้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้
_gat .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ได้รับการติดตั้งโดย Google Universal Analytics เพื่อจำกัดอัตราคำขอและจำกัดการรวบรวมข้อมูลบนไซต์ที่มีการเข้าชมสูง
_ga .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ซึ่งติดตั้งโดย Google Analytics จะคำนวณข้อมูลผู้เข้าชม เซสชัน และแคมเปญ และยังติดตามการใช้งานไซต์สำหรับรายงานการวิเคราะห์ของไซต์ คุกกี้เก็บข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนและกำหนดหมายเลขที่สร้างขึ้นแบบสุ่มเพื่อระบุผู้เยี่ยมชมที่ไม่ซ้ำ
_gid .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ติดตั้งโดย Google Analytics คุกกี้ _gid จะเก็บข้อมูลว่าผู้เยี่ยมชมใช้งานเว็บไซต์อย่างไร ในขณะเดียวกันก็สร้างรายงานการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย ข้อมูลบางส่วนที่เก็บรวบรวม ได้แก่ จำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่เข้าชมโดยไม่ระบุตัวตน

 

ลงทะเบียน | นักลงทุน 



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Syariah financing funding Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Personal Loan Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Business Loan Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Syariah Business Financing Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Referrer Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Issuer Registration



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Pendaftaran Reseller Financing



Sudah punya akun? Login

ลืมรหัสผ่าน

Loan Solutions

Choose what suits your needs


Personal loan for daily needs

Borrow Up to:
บาท 50.000.000
  • Home Improvement
  • Educational loans
  • Vacation Loan
  • Wedding Loans
  • Medical Fees
  • Umroh's Journey
Make Your Dreams Come True

Business Loans as an Invoice Financing solution

Borrow Up to:
บาท 2.000.000.000
  • Interest ranging from 14%
  • Full funding within 72 hours
  • Transparent
Make Your Dreams Come True