Equity Crowdfunding คืออะไร?

หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับคราวด์ฟันดิงในช่วงระยะเวลา 1 ถึง 2 ปีที่ผ่านมา แต่เชื่อหรือไม่ว่า คราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) ประสบความสำเร็จครั้งแรกในปี 1997  โดย วงดนตรีร็อค ในประเทศอังกฤษ  ที่ขอระดมทุนกับแฟนคลับเพื่อจัดทัวร์คอนเสิร์ต หลังจากนั้นไม่นาน ในปี 2000 ก็ได้เกิดแพลตฟอร์มการระดมทุนตัวกลางในชื่อว่า ArtistShare ทำให้ คราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) เป็นการระดมทุนที่แพร่หลาย และเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา

ปัจจุบัน คราวด์ฟันดิงได้มีวิวัฒนาการและได้โดนพัฒนาให้เป็นนวัตกรรมด้านการเงินสำหรับธุรกิจที่ต้องการเงินทุนเพื่อนำไปหล่อเลี้ยงกระแสเงินสด หรือต้องการเงินทุนระยะสั้นเพื่อต่อยอดทางธุรกิจ คล้ายกับสินเชื่อ ธุรกิจ แต่มีจุดเด่นในเรื่องของขั้นตอนการระดมทุนที่ง่ายและใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน คราวด์ฟันดิงจึงเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อธุรกิจที่นิยมในหมู่ธุรกิจ SME ที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อธนาคารได้หรือไม่สามารถรอการอนุมัตสินเชื่อที่ใช้เวลานานได้ เมื่อธุรกิจหลักที่ใช้คราวด์ฟันดิงคือธุรกิจ SME ผู้ให้บริการคราวด์ฟันดิง หรือที่เรียกกันว่า คราวด์ฟันดิง แพลตฟอร์มจึงพยายามออกแบบเกณการระดมทุนที่ยืดหยุ่นกว่าการขอสินเชื่อธนาคาร รวมถึงการยกเว้นการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันในการระดมทุน และที่สำคัญ ทำคราวด์ฟันดิง ให้เป็นระบบ online ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ ผ่าน PC และ Smartphone

ปัจจุบันคราวด์ฟันดิงมีหลายรูปแบบ รูปแบบหลักๆ ที่เป็นที่นิยมคือ

●  การระดมทุนในรูปแบบการบริจาค (Donation-based)
●  การระดมทุนเพื่อแลกกับสินค้าหรือของที่ระลึก (Reward-based)
●  การระดมทุนที่เป็นการกู้ยืม (Peer-to-peer lending)
●  การระดมทุนในรูปแบบหลักทรัพย์ (Investment-based) ซึ่งในการระดมทุนรูปแบบหลักทรัพย์ นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้ (Debt Crowdfunding) และ การระดมทุนด้วยการออกหุ้น (Equity Crowdfunding) 

ในบทความนี้ เราจะพาผู้ประกอบการมาเจาะลึกเกี่ยวกับการระดมทุนด้วยการออกหุ้น (Equity Crowdfunding)

Equity Crowdfunding คืออะไร?

Equity Crowdfunding คือ การระดมทุนที่ผู้ประกอบการ SME จะให้ “หุ้น” ของธุรกิจกับผู้ลงทุนเพื่อแลกกับเงินทุนที่ผู้ลงทุนให้มา ทำให้ผู้ลงทุนนั้นมีสิทธิ์เหมือนเป็นเจ้าของธุรกิจและสามารถได้รับเงินปันผลตามนโยบายการระดมทุนนั้นๆ รวมถึงการได้กำไรหรือขาดทุนจากส่วนต่างของราคาหุ้นในอนาคต การระดมทุนลักษณะนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่กำลังโตและต้องการทุนเพื่อเติบโตต่อไปอีกข้างหน้า และอยากได้ผู้ร่วมถือหุ้นในบริษัทเพิ่ม ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องระบุสิทธิต่างๆในการถือหุ้นอย่างละเอียดและชัดเจนเพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจในสิทธิของการเป็นเจ้าของหลังการระดมทุนคราวด์ฟันดิงสำเร็จ

 

ข้อดี ข้อเสีย Equity Crowdfunding

 

ในประเทศไทย คราวด์ฟันดิง แพลตฟอร์ม จะต้องได้รับการยอมรับจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เนื่องจากการระดมทุน คราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) เป็นการให้ผลตอบแทนในรูปแบบของหุ้นหรือหุ้นกู้ จึงถือเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในรูปแบบหนึ่งให้ประชาชน จึงต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งกำกับดูแลโดย ก.ล.ต.  

ขั้นตอนการทำ Equity Crowdfunding

การทำ Equity Crowdfunding ควรทำผ่านแพลตฟอร์มตัวกลางหรือที่เรียกกันว่า Crowdfunding Platform ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) 

ขั้นตอนหลักๆในการขอระดมทุนมีดังนี้

1. ติดต่อ Crowdfunding Platform เพื่อศึกษารายละเอียด และเตรียมแผนการระดมทุน Equity Crowdfunding 
2. Crowdfunding Platform ทำการตรวจสอบรายละเอียดแผนการระดมทุนว่าเป็นไปตามแนวทางที่ ก.ล.ต.กำหนดหรือไม่ หากตรงเงื่อนไขจึงทำการเผยแพร่การระดมทุนดังกล่าวลงในแพลตฟอร์มเพื่อให้ผู้ลงทุนภายนอกเข้ามาอ่านรายละเอียดและตัดสินใจในการลงทุน
3. นักลงทุนรับทราบข้อมูลบริษัท และรายละเอียดการระดมทุน และลงทุนภายในเวลาที่กำหนด
4. เมื่อถึงกำหนดการ หากการระดมทุนประสบความสำเร็จ คราวด์ฟันดิง แพลตฟอร์ม จะทำการส่งมอบเงินลงทุนนั้นๆ ให้กับบริษัทผู้ขอระดมทุน  ในกรณีที่การระดมทุนไม่สำเร็จ คราวด์ฟันดิง แพลตฟอร์ม ก็จะมีการคืนเงินให้กับนักลงทุน วิธีการแบบนี้เรียกว่าการทำคราวด์ฟันดิงภายใต้เงื่อนไข All or Nothing

ดังนั้นแล้วในการระดมทุนแต่ละครั้ง ผู้ประกอบการจึงต้องมีความรอบคอบและตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ อย่างดี ก่อนดำเนินการระดมทุน สำหรับผู้ประกอบการ ที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุนใหม่ๆ Equity Crowdfunding ก็เป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์จริงๆ

 

คราวด์ฟันดิง Crowdfunding

 



Equity Crowdfunding คืออะไร?

หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับคราวด์ฟันดิงในช่วงระยะเวลา 1 ถึง 2 ปีที่ผ่านมา แต่เชื่อหรือไม่ว่า คราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) ประสบความสำเร็จครั้งแรกในปี 1997  โดย วงดนตรีร็อค ในประเทศอังกฤษ  ที่ขอระดมทุนกับแฟนคลับเพื่อจัดทัวร์คอนเสิร์ต หลังจากนั้นไม่นาน ในปี 2000 ก็ได้เกิดแพลตฟอร์มการระดมทุนตัวกลางในชื่อว่า ArtistShare ทำให้ คราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) เป็นการระดมทุนที่แพร่หลาย และเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา

ปัจจุบัน คราวด์ฟันดิงได้มีวิวัฒนาการและได้โดนพัฒนาให้เป็นนวัตกรรมด้านการเงินสำหรับธุรกิจที่ต้องการเงินทุนเพื่อนำไปหล่อเลี้ยงกระแสเงินสด หรือต้องการเงินทุนระยะสั้นเพื่อต่อยอดทางธุรกิจ คล้ายกับสินเชื่อ ธุรกิจ แต่มีจุดเด่นในเรื่องของขั้นตอนการระดมทุนที่ง่ายและใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน คราวด์ฟันดิงจึงเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อธุรกิจที่นิยมในหมู่ธุรกิจ SME ที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อธนาคารได้หรือไม่สามารถรอการอนุมัตสินเชื่อที่ใช้เวลานานได้ เมื่อธุรกิจหลักที่ใช้คราวด์ฟันดิงคือธุรกิจ SME ผู้ให้บริการคราวด์ฟันดิง หรือที่เรียกกันว่า คราวด์ฟันดิง แพลตฟอร์มจึงพยายามออกแบบเกณการระดมทุนที่ยืดหยุ่นกว่าการขอสินเชื่อธนาคาร รวมถึงการยกเว้นการใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันในการระดมทุน และที่สำคัญ ทำคราวด์ฟันดิง ให้เป็นระบบ online ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ ผ่าน PC และ Smartphone

ปัจจุบันคราวด์ฟันดิงมีหลายรูปแบบ รูปแบบหลักๆ ที่เป็นที่นิยมคือ

●  การระดมทุนในรูปแบบการบริจาค (Donation-based)
●  การระดมทุนเพื่อแลกกับสินค้าหรือของที่ระลึก (Reward-based)
●  การระดมทุนที่เป็นการกู้ยืม (Peer-to-peer lending)
●  การระดมทุนในรูปแบบหลักทรัพย์ (Investment-based) ซึ่งในการระดมทุนรูปแบบหลักทรัพย์ นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้ (Debt Crowdfunding) และ การระดมทุนด้วยการออกหุ้น (Equity Crowdfunding) 

ในบทความนี้ เราจะพาผู้ประกอบการมาเจาะลึกเกี่ยวกับการระดมทุนด้วยการออกหุ้น (Equity Crowdfunding)

Equity Crowdfunding คืออะไร?

Equity Crowdfunding คือ การระดมทุนที่ผู้ประกอบการ SME จะให้ “หุ้น” ของธุรกิจกับผู้ลงทุนเพื่อแลกกับเงินทุนที่ผู้ลงทุนให้มา ทำให้ผู้ลงทุนนั้นมีสิทธิ์เหมือนเป็นเจ้าของธุรกิจและสามารถได้รับเงินปันผลตามนโยบายการระดมทุนนั้นๆ รวมถึงการได้กำไรหรือขาดทุนจากส่วนต่างของราคาหุ้นในอนาคต การระดมทุนลักษณะนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่กำลังโตและต้องการทุนเพื่อเติบโตต่อไปอีกข้างหน้า และอยากได้ผู้ร่วมถือหุ้นในบริษัทเพิ่ม ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องระบุสิทธิต่างๆในการถือหุ้นอย่างละเอียดและชัดเจนเพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าใจในสิทธิของการเป็นเจ้าของหลังการระดมทุนคราวด์ฟันดิงสำเร็จ

 

ข้อดี ข้อเสีย Equity Crowdfunding

 

ในประเทศไทย คราวด์ฟันดิง แพลตฟอร์ม จะต้องได้รับการยอมรับจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เนื่องจากการระดมทุน คราวด์ฟันดิง (Crowdfunding) เป็นการให้ผลตอบแทนในรูปแบบของหุ้นหรือหุ้นกู้ จึงถือเป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ในรูปแบบหนึ่งให้ประชาชน จึงต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งกำกับดูแลโดย ก.ล.ต.  

ขั้นตอนการทำ Equity Crowdfunding

การทำ Equity Crowdfunding ควรทำผ่านแพลตฟอร์มตัวกลางหรือที่เรียกกันว่า Crowdfunding Platform ที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) 

ขั้นตอนหลักๆในการขอระดมทุนมีดังนี้

1. ติดต่อ Crowdfunding Platform เพื่อศึกษารายละเอียด และเตรียมแผนการระดมทุน Equity Crowdfunding 
2. Crowdfunding Platform ทำการตรวจสอบรายละเอียดแผนการระดมทุนว่าเป็นไปตามแนวทางที่ ก.ล.ต.กำหนดหรือไม่ หากตรงเงื่อนไขจึงทำการเผยแพร่การระดมทุนดังกล่าวลงในแพลตฟอร์มเพื่อให้ผู้ลงทุนภายนอกเข้ามาอ่านรายละเอียดและตัดสินใจในการลงทุน
3. นักลงทุนรับทราบข้อมูลบริษัท และรายละเอียดการระดมทุน และลงทุนภายในเวลาที่กำหนด
4. เมื่อถึงกำหนดการ หากการระดมทุนประสบความสำเร็จ คราวด์ฟันดิง แพลตฟอร์ม จะทำการส่งมอบเงินลงทุนนั้นๆ ให้กับบริษัทผู้ขอระดมทุน  ในกรณีที่การระดมทุนไม่สำเร็จ คราวด์ฟันดิง แพลตฟอร์ม ก็จะมีการคืนเงินให้กับนักลงทุน วิธีการแบบนี้เรียกว่าการทำคราวด์ฟันดิงภายใต้เงื่อนไข All or Nothing

ดังนั้นแล้วในการระดมทุนแต่ละครั้ง ผู้ประกอบการจึงต้องมีความรอบคอบและตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ อย่างดี ก่อนดำเนินการระดมทุน สำหรับผู้ประกอบการ ที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุนใหม่ๆ Equity Crowdfunding ก็เป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์จริงๆ

 

คราวด์ฟันดิง Crowdfunding

 

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดก็ตาม เว็บไซต์นั้นอาจจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของ cookie ข้อมูลเหล่านี้อาจเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน หรือเพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานอย่างที่ท่านต้องการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้โดยตรง แต่ช่วยให้ท่านใช้งานเว็บตามความต้องการส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น โดยที่เราเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน ท่านสามารถปิดการทำงานของ cookie บางประเภทได้ โปรดคลิกที่หัวข้อประเภทอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นในการใช้งาน cookie อย่างไรก็ตาม ท่านควรทราบว่าการปิดการทำงานของ cookie บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการของเรา

ยอมรับทั้งหมด

จัดการการกำหนดลักษณะความยินยอม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ เช่น การรักษาความปลอดภัย คุณสามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ได้ด้วยการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ แต่การตั้งค่าดังกล่าวอาจส่งผลต่อการทำงานของเว็บไซต์
รายละเอียดคุกกี้

คุกกี้ในส่วนการตลาด

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อการนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของผู้ใช้บริการแต่ละราย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานคุกกี้ชนิดนี้ สามารถดูได้ที่นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ยืนยันตัวเลือกของฉัน
Cookie Domain Description
XSRF-TOKEN www.investree.co.th คุกกี้นี้ตั้งค่าโดย Wix และใช้เพื่อความปลอดภัย
laravel_session www.investree.co.th laravel ใช้ laravel_session เพื่อระบุอินสแตนซ์ของเซสชันสำหรับผู้ใช้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้
_gat .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ได้รับการติดตั้งโดย Google Universal Analytics เพื่อจำกัดอัตราคำขอและจำกัดการรวบรวมข้อมูลบนไซต์ที่มีการเข้าชมสูง
_ga .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ซึ่งติดตั้งโดย Google Analytics จะคำนวณข้อมูลผู้เข้าชม เซสชัน และแคมเปญ และยังติดตามการใช้งานไซต์สำหรับรายงานการวิเคราะห์ของไซต์ คุกกี้เก็บข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนและกำหนดหมายเลขที่สร้างขึ้นแบบสุ่มเพื่อระบุผู้เยี่ยมชมที่ไม่ซ้ำ
_gid .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ติดตั้งโดย Google Analytics คุกกี้ _gid จะเก็บข้อมูลว่าผู้เยี่ยมชมใช้งานเว็บไซต์อย่างไร ในขณะเดียวกันก็สร้างรายงานการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย ข้อมูลบางส่วนที่เก็บรวบรวม ได้แก่ จำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่เข้าชมโดยไม่ระบุตัวตน

 

ลงทะเบียน | นักลงทุน 



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Syariah financing funding Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Personal Loan Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Business Loan Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Syariah Business Financing Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Referrer Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Issuer Registration



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Pendaftaran Reseller Financing



Sudah punya akun? Login

ลืมรหัสผ่าน

Loan Solutions

Choose what suits your needs


Personal loan for daily needs

Borrow Up to:
บาท 50.000.000
  • Home Improvement
  • Educational loans
  • Vacation Loan
  • Wedding Loans
  • Medical Fees
  • Umroh's Journey
Make Your Dreams Come True

Business Loans as an Invoice Financing solution

Borrow Up to:
บาท 2.000.000.000
  • Interest ranging from 14%
  • Full funding within 72 hours
  • Transparent
Make Your Dreams Come True