SME ต้องรู้! คู่มือวางแผนภาษีสำหรับธุรกิจ

ภาษีเป็นรายได้หลักที่รัฐบาลนำมาจัดสรรเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ เช่น การศึกษา สาธารณสุข รวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น การสร้างถนน การพัฒนาแหล่งน้ำ และการให้เงินสนับสนุนธุรกิจ การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ หรือ นิติบุคคล ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือคณะบุคคลอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับนิติบุคคล 

บทความนี้จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาษีธุรกิจ SME ครอบคลุมหัวข้อสำคัญต่างๆ เช่น ประเภทของภาษีสำหรับธุรกิจ การวางแผนบริหารภาษี วิธีการลดหย่อนภาษี ขั้นตอนการเสียภาษี เพื่อให้ SME เข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง
 

ภาษีสำหรับธุรกิจ SME มีอะไรบ้าง?

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) คือ ภาษีที่จัดเก็บจากกำไรสุทธิของธุรกิจ (กำไรสุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีคือผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจ SME มีรายละเอียดดังนี้
 

ลักษณะนิติบุคคล  กำไรสุทธิ (บาท) ต่อปี อัตราภาษี

SME ที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และ/หรือ รายได้ (รายรับก่อนหักค่าใช้จ่าย)

ภายในรอบระยะเวลาบัญชี ยังไม่เกิน 30 ล้านบาท

0 - 300,000 ไม่ต้องเสีย
300,001 - 3 ล้าน 15%
มากกว่า 3 ล้าน 20%
นิติบุคคลทั่วไป ทั้งจำนวน 20%

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) คือ ภาษีที่ผู้ว่าจ้างหรือผู้ประกอบการ ทั้งในกรณีของบุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.3) หรือนิติบุคคล (ภ.ง.ด.53)  มีหน้าที่หักจากเงินได้ของผู้รับจ้างแล้วนำส่งต่อกรมสรรพากร โดยอัตราการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของค่าจ้าง

ตัวอย่างภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เช่น

ตัวอย่าง อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
บุคคลธรรมดา นิติบุคคล
ดอกเบี้ยเงินกู้ 15% 1%
เงินได้จากการเช่าทรัพย์สิน 5%
เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ  3%
ค่านายหน้า 3%

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specific Business Tax) คือ ภาษีที่เก็บจากการประกอบกิจการหรือธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง ซึ่งในที่นี้รวมถึงบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล เช่น 

  • ธนาคาร
  • ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
  • ประกันชีวิต
  • รับจำนำ
  • กิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ
  • อสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
  • หลักทรัพย์
  • อื่นๆเช่น ธุรกิจแฟคตอริ่ง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax - VAT) คือภาษีที่เกิดจากกระบวนการผลิตหรือบริการทางธุรกิจ การคิดภาษีมูลค่าเพิ่มจะคิดจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นของกระบวนการผลิต ภาษีนี้จะถูกเรียกเก็บจากผู้บริโภคเมื่อทำการซื้อหรือรับบริการนั้น โดยธุรกิจ SME ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร และมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7% 

อากรแสตมป์

อากรแสตมป์ (Revenue Stamp) คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการกระทำตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น ตราสารที่มีข้อความแสดงถึงการทำสัญญา สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาเช่าที่ดิน โดยกำหนดให้ผู้ให้กู้หรือผู้ให้เช่านั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียอากร ซึ่งสามารถอัพเดทเพิ่มเติมได้ที่บัญชีอัตราอากรแสตมป์

ภาษีธุรกิจ SME ต้องยื่นเมื่อไหร่?

ประเภท แบบยื่นรายการภาษี กำหนดการยื่นภาษี ค่าปรับหากเกินกำหนด
ภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 51 ยื่นทุก 6 เดือน ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 4,000 บาท และชำระเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระ
ภ.ง.ด.50 ยื่นทุก12 เดือน ภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภ.ง.ด.3
ภ.ง.ด.53
ยื่นทุกเดือน ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปหลังจากเดือนที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย  200 บาท และชำระเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ.40 ยื่นทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้น หรือไม่ก็ตาม  ไม่เกิน 2,000 บาท พร้อมชำระค่าปรับเพิ่ม 2 เท่า ของเงินภาษีที่ไม่ได้ชำระ และชำระเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ยื่นทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้น หรือไม่ก็ตาม  ไม่เกิน 600 บาท พร้อมชำระค่าปรับเพิ่ม 2%-20% ของภาษีเพิ่ม 2 เท่า และชำระเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระ
อากรแสตมป์ อ.ส. 4
อ.ส. 9
 
ยื่นทุกเดือน ภายใน 15 วัน  หลังจากกระทำตราสารเสร็จสมบูรณ์ ไม่เกิน 500 บาท

ในกรณีที่เจ้าของธุรกิจยื่นภาษีไม่ทันระยะเวลาที่กำหนด สามารถยื่นภาษีย้อนหลังผ่านระบบยื่นภาษีออนไลน์ของกรมสรรพากร และชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่ม และเบี้ยปรับตามอัตราที่กำหนด แต่ถ้าหากเลยระยะเวลาจนได้รับหมายเรียกจากตำรวจเศรษฐกิจ เจ้าของกิจการจะต้องรีบไปรับทราบข้อกล่าวหาตามวันเวลาที่ระบุในหมายเรียก และชี้แจงเหตุผลที่ไม่สามารถชำระภาษี หากเจ้าของกิจการปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้อย่างถูกต้อง ก็จะสามารถลดความเสี่ยงในการถูกดำเนินคดีทางกฎหมายได้

ภาษีธุรกิจ SME ยื่นได้ที่ไหน?

ผู้ประกอบการ SME ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามประเภทของภาษีที่กิจการต้องเสีย โดยสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ทางออนไลน์ www.rd.go.th หรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด โดยสามารถชำระภาษีผ่านระบบ e-payment ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร หรือชำระภาษีด้วยตนเองที่ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ

เตรียมความพร้อมวางแผนบริหารภาษีธุรกิจ SME อย่างไร?

แนวทางในการวางแผนบริหารภาษีธุรกิจ SME สามารถพิจารณา ดังนี้

จัดทำบัญชีอย่างถูกต้องและครบถ้วน

  • รวบรวม บันทึก และตรวจสอบบัญชี อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง
  • จัดทำงบการเงิน ผุ้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลมีหน้าที่นำส่งงบการเงินแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยจะต้องจัดทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชีประกอบด้วย บัญชีงบดุล, บัญชีทำการ, บัญชีกำไรขาดทุน ซึ่งข้อมูลในบัญชีเหล่านี้มีความสำคัญต่อการกำหนดภาระภาษีที่ต้องชำระของกิจการ โดยรายได้และค่าใช้จ่ายทางภาษีจะต้องสอดคล้องกับรายได้และค่าใช้จ่ายทางบัญชี
  • ใช้โปรแกรมบัญชี เพื่อช่วยให้สามารถบันทึกบัญชีได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง ปัจจุบันมีให้บริการอยู่หลากหลายบริษัทเช่น FlowAccount, PEAKaccount

สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจ SME

ภาครัฐมีมาตรการภาษีต่างๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของ SME ตัวอย่างการวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้ เช่น

ค่าใช้จ่าย สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หักรายจ่ายได้ 2 เท่า 
ของค่าใช้จ่ายจริง
 
ค่าใช้จ่ายในการจ้างงานผู้สูงอายุ
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับธุรกิจขนาดใหญ่ การเสียภาษีถูกต้องช่วยป้องกันความเสี่ยงทางกฎหมายและลดโอกาสที่จะต้องจ่ายค่าปรับในอนาคต ธุรกิจ SME ควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ เพื่อนำมาใช้วางแผนและบริหารจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหาแนวทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของธุรกิจได้

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจ การระดมทุนคราวด์ฟันดิงถือเป็นแหล่งเงินทุนใหม่ที่เหมาะกับ SME เพราะไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เงื่อนไขยืดหยุ่น ง่าย และเร็ว ทราบผลภายใน 72 ชั่วโมงหลังส่งเอกสารครบ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่



SME ต้องรู้! คู่มือวางแผนภาษีสำหรับธุรกิจ

ภาษีเป็นรายได้หลักที่รัฐบาลนำมาจัดสรรเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ เช่น การศึกษา สาธารณสุข รวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น การสร้างถนน การพัฒนาแหล่งน้ำ และการให้เงินสนับสนุนธุรกิจ การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ หรือ นิติบุคคล ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือคณะบุคคลอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับนิติบุคคล 

บทความนี้จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาษีธุรกิจ SME ครอบคลุมหัวข้อสำคัญต่างๆ เช่น ประเภทของภาษีสำหรับธุรกิจ การวางแผนบริหารภาษี วิธีการลดหย่อนภาษี ขั้นตอนการเสียภาษี เพื่อให้ SME เข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง
 

ภาษีสำหรับธุรกิจ SME มีอะไรบ้าง?

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) คือ ภาษีที่จัดเก็บจากกำไรสุทธิของธุรกิจ (กำไรสุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีคือผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับธุรกิจ SME มีรายละเอียดดังนี้
 

ลักษณะนิติบุคคล  กำไรสุทธิ (บาท) ต่อปี อัตราภาษี

SME ที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และ/หรือ รายได้ (รายรับก่อนหักค่าใช้จ่าย)

ภายในรอบระยะเวลาบัญชี ยังไม่เกิน 30 ล้านบาท

0 - 300,000 ไม่ต้องเสีย
300,001 - 3 ล้าน 15%
มากกว่า 3 ล้าน 20%
นิติบุคคลทั่วไป ทั้งจำนวน 20%

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) คือ ภาษีที่ผู้ว่าจ้างหรือผู้ประกอบการ ทั้งในกรณีของบุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.3) หรือนิติบุคคล (ภ.ง.ด.53)  มีหน้าที่หักจากเงินได้ของผู้รับจ้างแล้วนำส่งต่อกรมสรรพากร โดยอัตราการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะแตกต่างกันออกไปตามรูปแบบของค่าจ้าง

ตัวอย่างภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เช่น

ตัวอย่าง อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
บุคคลธรรมดา นิติบุคคล
ดอกเบี้ยเงินกู้ 15% 1%
เงินได้จากการเช่าทรัพย์สิน 5%
เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ  3%
ค่านายหน้า 3%

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specific Business Tax) คือ ภาษีที่เก็บจากการประกอบกิจการหรือธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง ซึ่งในที่นี้รวมถึงบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล เช่น 

  • ธนาคาร
  • ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
  • ประกันชีวิต
  • รับจำนำ
  • กิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ
  • อสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
  • หลักทรัพย์
  • อื่นๆเช่น ธุรกิจแฟคตอริ่ง

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax - VAT) คือภาษีที่เกิดจากกระบวนการผลิตหรือบริการทางธุรกิจ การคิดภาษีมูลค่าเพิ่มจะคิดจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นของกระบวนการผลิต ภาษีนี้จะถูกเรียกเก็บจากผู้บริโภคเมื่อทำการซื้อหรือรับบริการนั้น โดยธุรกิจ SME ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร และมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7% 

อากรแสตมป์

อากรแสตมป์ (Revenue Stamp) คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการกระทำตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น ตราสารที่มีข้อความแสดงถึงการทำสัญญา สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาเช่าที่ดิน โดยกำหนดให้ผู้ให้กู้หรือผู้ให้เช่านั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียอากร ซึ่งสามารถอัพเดทเพิ่มเติมได้ที่บัญชีอัตราอากรแสตมป์

ภาษีธุรกิจ SME ต้องยื่นเมื่อไหร่?

ประเภท แบบยื่นรายการภาษี กำหนดการยื่นภาษี ค่าปรับหากเกินกำหนด
ภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 51 ยื่นทุก 6 เดือน ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 4,000 บาท และชำระเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระ
ภ.ง.ด.50 ยื่นทุก12 เดือน ภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภ.ง.ด.3
ภ.ง.ด.53
ยื่นทุกเดือน ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปหลังจากเดือนที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย  200 บาท และชำระเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภ.ธ.40 ยื่นทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้น หรือไม่ก็ตาม  ไม่เกิน 2,000 บาท พร้อมชำระค่าปรับเพิ่ม 2 เท่า ของเงินภาษีที่ไม่ได้ชำระ และชำระเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ยื่นทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้น หรือไม่ก็ตาม  ไม่เกิน 600 บาท พร้อมชำระค่าปรับเพิ่ม 2%-20% ของภาษีเพิ่ม 2 เท่า และชำระเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระ
อากรแสตมป์ อ.ส. 4
อ.ส. 9
 
ยื่นทุกเดือน ภายใน 15 วัน  หลังจากกระทำตราสารเสร็จสมบูรณ์ ไม่เกิน 500 บาท

ในกรณีที่เจ้าของธุรกิจยื่นภาษีไม่ทันระยะเวลาที่กำหนด สามารถยื่นภาษีย้อนหลังผ่านระบบยื่นภาษีออนไลน์ของกรมสรรพากร และชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่ม และเบี้ยปรับตามอัตราที่กำหนด แต่ถ้าหากเลยระยะเวลาจนได้รับหมายเรียกจากตำรวจเศรษฐกิจ เจ้าของกิจการจะต้องรีบไปรับทราบข้อกล่าวหาตามวันเวลาที่ระบุในหมายเรียก และชี้แจงเหตุผลที่ไม่สามารถชำระภาษี หากเจ้าของกิจการปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้อย่างถูกต้อง ก็จะสามารถลดความเสี่ยงในการถูกดำเนินคดีทางกฎหมายได้

ภาษีธุรกิจ SME ยื่นได้ที่ไหน?

ผู้ประกอบการ SME ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามประเภทของภาษีที่กิจการต้องเสีย โดยสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีได้ทางออนไลน์ www.rd.go.th หรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา และชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด โดยสามารถชำระภาษีผ่านระบบ e-payment ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร หรือชำระภาษีด้วยตนเองที่ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ

เตรียมความพร้อมวางแผนบริหารภาษีธุรกิจ SME อย่างไร?

แนวทางในการวางแผนบริหารภาษีธุรกิจ SME สามารถพิจารณา ดังนี้

จัดทำบัญชีอย่างถูกต้องและครบถ้วน

  • รวบรวม บันทึก และตรวจสอบบัญชี อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง
  • จัดทำงบการเงิน ผุ้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลมีหน้าที่นำส่งงบการเงินแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยจะต้องจัดทำบัญชีตามมาตรฐานบัญชีประกอบด้วย บัญชีงบดุล, บัญชีทำการ, บัญชีกำไรขาดทุน ซึ่งข้อมูลในบัญชีเหล่านี้มีความสำคัญต่อการกำหนดภาระภาษีที่ต้องชำระของกิจการ โดยรายได้และค่าใช้จ่ายทางภาษีจะต้องสอดคล้องกับรายได้และค่าใช้จ่ายทางบัญชี
  • ใช้โปรแกรมบัญชี เพื่อช่วยให้สามารถบันทึกบัญชีได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง ปัจจุบันมีให้บริการอยู่หลากหลายบริษัทเช่น FlowAccount, PEAKaccount

สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจ SME

ภาครัฐมีมาตรการภาษีต่างๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของ SME ตัวอย่างการวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่ช่วยลดหย่อนภาษีได้ เช่น

ค่าใช้จ่าย สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ค่าใช้จ่ายในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หักรายจ่ายได้ 2 เท่า 
ของค่าใช้จ่ายจริง
 
ค่าใช้จ่ายในการจ้างงานผู้สูงอายุ
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับธุรกิจขนาดใหญ่ การเสียภาษีถูกต้องช่วยป้องกันความเสี่ยงทางกฎหมายและลดโอกาสที่จะต้องจ่ายค่าปรับในอนาคต ธุรกิจ SME ควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ เพื่อนำมาใช้วางแผนและบริหารจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหาแนวทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของธุรกิจได้

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจ การระดมทุนคราวด์ฟันดิงถือเป็นแหล่งเงินทุนใหม่ที่เหมาะกับ SME เพราะไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน เงื่อนไขยืดหยุ่น ง่าย และเร็ว ทราบผลภายใน 72 ชั่วโมงหลังส่งเอกสารครบ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

Accept All Cookies

When you visit any website, it may store or retrieve information on your browser, mostly in the form of cookies. This information might be about you, your preferences or your device and is mostly used to make the site work as you expect it to. The information does not usually directly identify you, but it can give you a more personalized web experience. Because we respect your right to privacy, you can choose not to allow some types of cookies. Click on the different category headings to find out more and change our default settings. However, blocking some types of cookies may impact your experience of the site and the services we are able to offer.

Accept All Cookies

Manage Consent Preferences

Strictly Necessary Cookies
Always On

These cookies are necessary for the website to function and cannot be switched off in our systems. They are usually only set in response to actions made by you which amount to a request for services, such as setting your privacy preferences, logging in or filling in forms. You can set your browser to block or alert you about these cookies, but some parts of the site will not then work. These cookies do not store any personally identifiable information. cookie details
cookie details

Targeting cookies or advertising cookies

These cookies are used to deliver advertisements more relevant to you and your interests and to limit the number of times you see general advertisements as well as help measure the effectiveness of our advertising campaigns. These cookies will be placed by advertising networks (e.g. Facebook, Google, etc.) with our permission and will remember how you have visited our website and information may be shared with other organizations such as advertisers. Quite often targeting or advertising cookies will be linked to website functionality provided by the other organizations. You can find out about your rights and how we use your information in our Privacy Policy.

Confirm my Choice
Cookie Domain Description
XSRF-TOKEN www.investree.co.th This cookie is set by Wix and is used for security purposes.
laravel_session www.investree.co.th laravel uses laravel_session to identify a session instance for a user, this can be changed
_gat .investree.co.th Google Universal Analytics sets this cookie to restrain request rate and thus limit data collection on high-traffic sites.
_ga .investree.co.th Google Analytics sets this cookie to calculate visitor, session and campaign data and track site usage for the site's analytics report. The cookie stores information anonymously and assigns a randomly generated number to recognise unique visitors.
_gid .investree.co.th Google Analytics sets this cookie to store information on how visitors use a website while also creating an analytics report of the website's performance. Some of the collected data includes the number of visitors, their source, and the pages they visit anonymously.

Sign Up | INVESTOR 



Already Have an Account? Login

Syariah financing funding Register




Already Have an Account? Login

Personal Loan Register




Already Have an Account? Login

Business Loan Register



Already Have an Account? Login

Syariah Business Financing Register



Already Have an Account? Login

Referrer Register




Already Have an Account? Login

Issuer Registration



Already have an account? Login

Pendaftaran Reseller Financing



Sudah punya akun? Login

Forgot Password

Loan Solutions

Choose what suits your needs


Personal loan for daily needs

Borrow Up to:
THB 50.000.000
  • Home Improvement
  • Educational loans
  • Vacation Loan
  • Wedding Loans
  • Medical Fees
  • Umroh's Journey
Make Your Dreams Come True

Business Loans as an Invoice Financing solution

Borrow Up to:
THB 2.000.000.000
  • Interest ranging from 14%
  • Full funding within 72 hours
  • Transparent
Make Your Dreams Come True