ทำความรู้จัก งบกระแสเงินสด ตัวชี้วัดสำคัญสุขภาพธุรกิจ

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริหารธุรกิจคือการบริหารจัดการเงินสด หรือ การบริหารรายรับรายจ่ายให้มีความสอดคล้องกัน จะว่าไปแล้ว ทุกคนน่าจะได้ผ่านประสบการณ์บริหารจัดการเงินสดมาแล้วไม่มากก็น้อย เพราะสิ่งนี้อยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่เล็กจนโต ตอนเด็ก ถ้าเราได้ค่าขนมอยู่ที่ 20 บาท เราก็จะซื้อขนมไม่ให้เกินค่าขนมที่ได้ ส่วนที่เหลือ เราจะเก็บไว้เพื่อการออมสำหรับอนาคต เมื่อเราอยู่ในวัยทำงาน ถ้าเราได้เงินเดือนอยู่ที่ 20,000 บาท เราก็จะบริหารค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าข้าว และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไม่ให้เกินเงินเดือนที่ได้ หากเราเห็นแล้วว่าค่าใช้จ่ายของเรามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น เราก็ต้องวางแผนในการหางานพิเศษเพื่อมาเสริมรายได้ หรือหาวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายบางอย่างเพื่อให้เรามีเงินพอกับรายจ่ายที่จะเกิดขึ้น หลักการนี้ ไม่ต่างอะไรกับการบริหารธุรกิจ ซึ่งก็ต้องใช้การวางแผนและบริหารเช่นกัน ในภาษาธุรกิจเราเรียกการบริหารรายรับรายจ่ายนี้ว่า การบริหารงบกระแสเงินสด 

กระแสเงินสด คืออะไร

กระแสเงินสด (Cash Flow) คือ จำนวนเงินเข้า (รายได้) และ จำนวนเงินออก (รายจ่าย) ของบริษัท ซึ่งถ้าเอารายได้ลบรายจ่ายแล้วเหลือเงิน ก็แปลว่าบริษัทมีเงินพอในการดำเนินกิจการ หรือที่เราเรียกกันว่าบริษัทมีสภาพคล่อง (Liquidity)

  • รายได้ (Income) คือเงินที่บริษัทได้จากการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างเช่น เงินที่ได้จากการขายสินค้าหรือบริการ ดอกเบี้ยที่ได้จากการลงทุน ค่าตอบแทนที่ได้จากการให้ใช้สินทรัพย์
  • รายจ่าย (Expense) คือเงินที่บริษัทต้องจ่ายในการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างเช่น เงินที่ต้องจ่ายสำหรับการซื้อวัตถุดิบ เงินเดือนพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์สำนักงาน ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจากการกู้ยืม

3 สิ่งสำคัญที่เราจะต้องรู้เกี่ยวกับกระแสเงินสด เพื่อให้เราวางแผนการดำเนินงานของบริษัทไม่ให้ขาดสภาพคล่อง คือ

  • รายได้ และ รายจ่าย นั้น มีจำนวนเท่าไหร่
  • รายได้ และ รายจ่าย นั้น จะเกิดเมื่อไหร่ และ
  • ความเข้าใจในความเสี่ยงของรายรับรายจ่ายนั้นๆ 

เมื่อไหร่ที่ รายได้ มากกว่า รายจ่าย เราก็จะมีเงินเหลือ หรือที่เรียกกันว่า กระแสเงินสดเป็นบวก (Positive Cash Flow)
เมื่อไหร่ที่ รายได้ น้อยกว่า รายจ่าย เราก็มีความเสี่ยงที่จะไม่มีเงินพอสำหรับค่าใช้จ่าย หรือ ที่เรียกกันว่า กระแสเงินสดติดลบ (Negative Cash Flow) และจำเป็นจะต้องวางแผนการเงินใหม่เพื่อจัดการกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น

ตัวอย่าง
ทุกๆ เดือน เรามีค่าใช้จ่ายประจำคือ ค่าไฟ 50,000 บาท ค่าวัตถุดิบ 200,000 บาท และ เงินเดือนพนักงาน 150,000 บาท รวมรายจ่ายทั้งหมดเป็น 400,000 บาท ซึ่งเรามีหน้าที่จ่ายตอนสิ้นเดือน 
ดังนั้นเราจึงได้วางแผนการขายเและตั้งเป้าการขายสินค้าที่ 500,000 บาท

หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน เดือนนี้ เราจะมีเงินเหลือ 100,000 บาท (กระแสเงินสดเป็นบวก) โดยธรรมชาติ บริษัทที่มีเงินเหลือย่อมมีอิสระในการใช้จ่าย หรือที่เราเรียกกันว่า มีสภาพคล่องทางการเงิน
หากเราต้องการเพิ่มยอดขายในอนาคต เราก็สามารถใช้เงินจำนวนนี้ ซื้อวัตถุดิบเพิ่มหรือจ้างคนเพิ่มเพื่อเพิ่มกำลังผลิต หรือ หากเราอยากเตรียมเงินก้อนนี้ไว้เพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินในอนาคต เราก็สามารถทำได้เช่นกัน

ในทางกลับกัน หากบริษัทไม่สามารถขายสินค้าได้ตามเป้า บริษัทก็จะมีความเสี่ยงในการชำระค่าใช้จ่ายในจำนวนและเวลาที่กำหนด ความคล่องตัวในการทำธุรกิจของบริษัทก็จะน้อยลง ส่งผลถึงความไม่แน่นอนและความเสี่ยงในการชะงักตัวของธุรกิจในอนาคตหากไม่สามารถหาเงินมาเพิ่มได้

การดูแลและคาดการณ์งบกระแสเงินสดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่บริษัทจะต้องทำ เพราะหากเราไม่ดูแลและวางแผนงบกระแสเงินสดให้ดี ให้รายรับและรายจ่ายมีความสมดุล ธุรกิจเราจะสะดุดแน่นอน

เพื่อให้เราเข้าใจ งบกระแสเงินสด ให้ลึกซึ้งมากขึ้น มาดูรายละเอียดเพิ่มเติมกัน

งบกระแสเงินสดสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

งบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash Flow from Operation)

รายรับหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจโดยตรง เช่น รายได้จากการขายสินค้า (+) รายจ่ายในการซื้อวัตถุดิบ (-) เงินเดือนและค่าจ้างพนักงาน (-) ดังนั้น กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ดีควรจะเป็นบวกเสมอ (+) หากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบ (-) เราสามารถอนุมานได้ว่าธุรกิจเรากำลังขาดทุนอยู่และต้องปรับแผนการดำเนินการใหม่เพื่อให้มีเงินสดพอรองรับค่าใช้จ่าย

งบกระแสเงินสดจากการลงทุน (Cash Flow from Investment)

รายรับหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการลงทุน เช่น การปรับปรุงโรงงาน (-) การลงทุนในเครื่องจักรใหม่ (-) 
บริษัทที่มีการลงทุนในสินทรัพย์เพื่อขยายการผลิต จะมีงบกระแสเงินสดจากการลงทุนที่ติดลบเสมอ (-) เพราะการลงทุนในสินทรัพย์เป็นรายจ่าย ด้วยเหตุนี้ ตัวชี้วัดที่เหมาะสมจะไม่ใช่งบที่ (+) หรือ (-) แต่จะเป็น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset) การวัดความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์ของบริษัท หรือ อัตราหมุนเวียนทรัพย์สิน (Asset Turnover) ที่วัดความสามารถในการใช้สินทรัพย์ในการสร้างรายได้ว่าคุ้มแค่ไหน

งบกระแสเงินสดจากการจัดหาเงินทุน (Cash Flow from Financing)

รายรับหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดหาเงินทุน ไม่ว่าจะเป็นกู้เงิน (+) เพิ่มทุน (+) ออกหุ้นกู้ (+) การคืนเงิน (-) หรือ การจ่ายเงินปันผล (-) หากบริษัทมีกำหนดชำระหนี้สินเชื่อธุรกิจ บริษัทต้องวางแผนให้มีเงินสดเพียงพอที่จะครอบคลุมภาระสินเชื่อนั้นๆ

ตัวอย่างประเภทรายรับรายจ่ายในงบกระแสเงินสด

ตัวอย่างประเภทรายรับรายจ่ายในงบกระแสเงินสด

 

รายรับ (+)

รายจ่าย (-)

กระแสเงินสดจากการกิจกรรมดำเนินงาน

 

  • การขายสินค้า/บริการ
  • การรับชำระหนี้จากลูกหนี้
  • การรับบริจาค/เงินช่วยเหลือ
  • การได้รับดอกเบี้ยรับจากบัญชีเงินฝากธนาคาร
  • การซื้อสินค้า
  • การชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า
  • การดำเนินงานต่างๆ เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่า เงินเดือน

กระแสเงินสดจากการกิจกรรมลงทุน

  • การขายที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
  • การขายเงินลงทุนระยะยาว หรือสินทรัพย์อื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากกิจกรรมดำเนินงาน
  • การซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
  • การลงทุนระยะยาว
  • การซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือสินทรัพย์อื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากกิจกรรมดำเนินงาน

กระแสเงินสดจากการกิจกรรมจัดหาเงินทุน

  • การออกจำหน่ายหุ้นทุน หรือหลักทรัพย์หุ้นทุนอื่น
  • การออกจำหน่ายหุ้นกู้
  • จากการกู้ยืมเงินระยะยาวจากสถาบันการเงิน 
  • การชำระหนี้เงินกู้ระยะยาว
  • การจ่ายเงินปันผล
  • การซื้อหรือไถ่ถอนหุ้นทุนของกิจการ

การคำนวณงบกระแสเงินสด

การคำนวณงบกระแสเงินสดทำได้ 2 วิธี คือ ทางตรง และ ทางอ้อม แม้การแสดงรายการอาจต่างกันบ้าง แต่ผลลัพธ์ก็ยังคงเท่ากันเหมือนเดิม 

การคำณวนกระแสเงินสดทางตรง 

  • เงินสดคงเหลือต้นงวด 
  • +/- เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 
  • +/- เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน 
  • +/- เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน 
  • = กระแสเงินสดปลายงวด 

การคำณวนกระแสเงินสดทางอ้อม

  • กำไรสุทธิก่อนดอกเบี้ย เงินปันผล และภาษี
  • +/- รายการปรับปรุง
  • +/- การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์เพิ่ม เงินสดลบ หนี้สินเพิ่ม เงินสดบวก
  • +/- เงินสดรับและจ่ายจากดอกเบี้ย ปันผล ภาษี

กรณีศึกษา: งบกระแสเงินสด บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน)

งบกระแสเงินสด บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) ปี 2565   งบกระแสเงินสด บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) ปี 2565

ที่มา: investor.afteryoudessertcafe.com


กรณีศึกษา: ตัวอย่างการคำนวณ งบกระแสเงินสด บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน)

การคำณวนกระแสเงินสดทางตรง 
บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) ปี 2564-2565 (หน่วย: พันบาท)

เงินสดคงเหลือต้นงวด

161,486

เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน

113,160

เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน

(18,648)

เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน

(30,587)

ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงินเพิ่มขึ้น (ลดลง)

233

กระแสเงินสดปลายงวด

225,644

 

การคำณวนกระแสเงินสดทางอ้อม
บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) ปี 2564-2565 (หน่วย: พันบาท)

กำไรสุทธิก่อนดอกเบี้ย เงินปันผล และภาษี

60,663

รายการปรับปรุง

72,327

การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์จากการดำเนินงาน

(13,818)

เงินสดรับและจ่ายจากดอกเบี้ย ปันผล ภาษี

(6,012)

เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน

113,160

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่ายอดรวมของ เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน คือ 113,160 เท่ากันกับวิธีการคำนวณทางตรง

หากต้องการคำนวณ กระแสเงินสดปลายงวด จะใช้วิธีดังนี้

กระแสเงินสดปลายงวดโดยวิธีทางอ้อม

เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน

113,160

เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน

(18,648)

เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน

(30,587)

ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงินเพิ่มขึ้น (ลดลง)

233

เงินสด เพิ่มขึ้น(ลดลง) สุทธิ

64,158

ดังนั้น 

เงินสดคงเหลือต้นงวด + เงินสดเพิ่มขึ้น(ลดลง) สุทธิ = กระแสเงินสดปลายงวด

161,486 + 64,158 = 225,644

บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เติบโตขึ้นมาก ซึ่งหากอ่านคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) และงบกระแสเงินสด จะเห็นได้ว่าการเติบโตของยอดขายร้านขนมหวานเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น  ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มกลับมารับประทานของหวานนอกบ้านมากขึ้น และการเข้าประเทศที่ง่ายขึ้นทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มกลับมาฟื้นตัว นอกจากนี้ บริษัทได้มีการขยายสาขาเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับแนวโน้มการขายที่น่าจะมากขึ้น 

ดังนั้นกระแสเงินสดปลายงวดที่เห็นด้านบนจะถูกนำไปใช้ตั้งเป็นกระแสเงินสดต้นงวด และนำไปคาดการณ์งบกระแสเงินสดที่กำลังจะเกิดขึ้น (Forecast Cash Flow) ในเดือนต่อไปได้ด้วย 

การหมั่นดูแลงบกระแสเงินสดก็ไม่ต่างกับการหมั่นดูแลสุภาพ เพราะถ้าเรารู้ว่ากำลังมีโรคระบาด เราก็จะระวังตัวและดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการติดโรค การดูแลงบกระแสเงินสดก็เช่นกัน การหมั่นวิเคราะห์และคาดการณ์จะทำให้เรามีโอกาสเตรียมตัวและวางแผนจัดการกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสภาพคล่องของเราในอนาคต 

หากงบกระแสเงินสดมีแนวโน้มติดลบ วิธีบริหารเงินสดหรือสภาพคล่องเบื้องต้นมีดังนี้ อ่านต่อ บทความ: 5 ข้อง่ายๆ ในการเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจคุณ ทว่าบริษัทได้มีการบริหารรายจ่ายแล้ว แต่ยังมีความเสี่ยงที่งบกระแสเงินสดจะติดลบ บริษัทควรเตรียมตัวในการขอสินเชื่อหรือหาแหล่งเงินทุนไว้รองรับเพื่อไม่ให้ธุรกิจสะดุด อ่านต่อ บทความ: ทำความรู้จัก 4 แหล่งเงินทุนเพื่อธุรกิจ SME 


 



ทำความรู้จัก งบกระแสเงินสด ตัวชี้วัดสำคัญสุขภาพธุรกิจ

สิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริหารธุรกิจคือการบริหารจัดการเงินสด หรือ การบริหารรายรับรายจ่ายให้มีความสอดคล้องกัน จะว่าไปแล้ว ทุกคนน่าจะได้ผ่านประสบการณ์บริหารจัดการเงินสดมาแล้วไม่มากก็น้อย เพราะสิ่งนี้อยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่เล็กจนโต ตอนเด็ก ถ้าเราได้ค่าขนมอยู่ที่ 20 บาท เราก็จะซื้อขนมไม่ให้เกินค่าขนมที่ได้ ส่วนที่เหลือ เราจะเก็บไว้เพื่อการออมสำหรับอนาคต เมื่อเราอยู่ในวัยทำงาน ถ้าเราได้เงินเดือนอยู่ที่ 20,000 บาท เราก็จะบริหารค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าข้าว และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไม่ให้เกินเงินเดือนที่ได้ หากเราเห็นแล้วว่าค่าใช้จ่ายของเรามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น เราก็ต้องวางแผนในการหางานพิเศษเพื่อมาเสริมรายได้ หรือหาวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายบางอย่างเพื่อให้เรามีเงินพอกับรายจ่ายที่จะเกิดขึ้น หลักการนี้ ไม่ต่างอะไรกับการบริหารธุรกิจ ซึ่งก็ต้องใช้การวางแผนและบริหารเช่นกัน ในภาษาธุรกิจเราเรียกการบริหารรายรับรายจ่ายนี้ว่า การบริหารงบกระแสเงินสด 

กระแสเงินสด คืออะไร

กระแสเงินสด (Cash Flow) คือ จำนวนเงินเข้า (รายได้) และ จำนวนเงินออก (รายจ่าย) ของบริษัท ซึ่งถ้าเอารายได้ลบรายจ่ายแล้วเหลือเงิน ก็แปลว่าบริษัทมีเงินพอในการดำเนินกิจการ หรือที่เราเรียกกันว่าบริษัทมีสภาพคล่อง (Liquidity)

  • รายได้ (Income) คือเงินที่บริษัทได้จากการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างเช่น เงินที่ได้จากการขายสินค้าหรือบริการ ดอกเบี้ยที่ได้จากการลงทุน ค่าตอบแทนที่ได้จากการให้ใช้สินทรัพย์
  • รายจ่าย (Expense) คือเงินที่บริษัทต้องจ่ายในการดำเนินธุรกิจ ตัวอย่างเช่น เงินที่ต้องจ่ายสำหรับการซื้อวัตถุดิบ เงินเดือนพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์สำนักงาน ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจากการกู้ยืม

3 สิ่งสำคัญที่เราจะต้องรู้เกี่ยวกับกระแสเงินสด เพื่อให้เราวางแผนการดำเนินงานของบริษัทไม่ให้ขาดสภาพคล่อง คือ

  • รายได้ และ รายจ่าย นั้น มีจำนวนเท่าไหร่
  • รายได้ และ รายจ่าย นั้น จะเกิดเมื่อไหร่ และ
  • ความเข้าใจในความเสี่ยงของรายรับรายจ่ายนั้นๆ 

เมื่อไหร่ที่ รายได้ มากกว่า รายจ่าย เราก็จะมีเงินเหลือ หรือที่เรียกกันว่า กระแสเงินสดเป็นบวก (Positive Cash Flow)
เมื่อไหร่ที่ รายได้ น้อยกว่า รายจ่าย เราก็มีความเสี่ยงที่จะไม่มีเงินพอสำหรับค่าใช้จ่าย หรือ ที่เรียกกันว่า กระแสเงินสดติดลบ (Negative Cash Flow) และจำเป็นจะต้องวางแผนการเงินใหม่เพื่อจัดการกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น

ตัวอย่าง
ทุกๆ เดือน เรามีค่าใช้จ่ายประจำคือ ค่าไฟ 50,000 บาท ค่าวัตถุดิบ 200,000 บาท และ เงินเดือนพนักงาน 150,000 บาท รวมรายจ่ายทั้งหมดเป็น 400,000 บาท ซึ่งเรามีหน้าที่จ่ายตอนสิ้นเดือน 
ดังนั้นเราจึงได้วางแผนการขายเและตั้งเป้าการขายสินค้าที่ 500,000 บาท

หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน เดือนนี้ เราจะมีเงินเหลือ 100,000 บาท (กระแสเงินสดเป็นบวก) โดยธรรมชาติ บริษัทที่มีเงินเหลือย่อมมีอิสระในการใช้จ่าย หรือที่เราเรียกกันว่า มีสภาพคล่องทางการเงิน
หากเราต้องการเพิ่มยอดขายในอนาคต เราก็สามารถใช้เงินจำนวนนี้ ซื้อวัตถุดิบเพิ่มหรือจ้างคนเพิ่มเพื่อเพิ่มกำลังผลิต หรือ หากเราอยากเตรียมเงินก้อนนี้ไว้เพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินในอนาคต เราก็สามารถทำได้เช่นกัน

ในทางกลับกัน หากบริษัทไม่สามารถขายสินค้าได้ตามเป้า บริษัทก็จะมีความเสี่ยงในการชำระค่าใช้จ่ายในจำนวนและเวลาที่กำหนด ความคล่องตัวในการทำธุรกิจของบริษัทก็จะน้อยลง ส่งผลถึงความไม่แน่นอนและความเสี่ยงในการชะงักตัวของธุรกิจในอนาคตหากไม่สามารถหาเงินมาเพิ่มได้

การดูแลและคาดการณ์งบกระแสเงินสดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่บริษัทจะต้องทำ เพราะหากเราไม่ดูแลและวางแผนงบกระแสเงินสดให้ดี ให้รายรับและรายจ่ายมีความสมดุล ธุรกิจเราจะสะดุดแน่นอน

เพื่อให้เราเข้าใจ งบกระแสเงินสด ให้ลึกซึ้งมากขึ้น มาดูรายละเอียดเพิ่มเติมกัน

งบกระแสเงินสดสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

งบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash Flow from Operation)

รายรับหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจโดยตรง เช่น รายได้จากการขายสินค้า (+) รายจ่ายในการซื้อวัตถุดิบ (-) เงินเดือนและค่าจ้างพนักงาน (-) ดังนั้น กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ดีควรจะเป็นบวกเสมอ (+) หากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบ (-) เราสามารถอนุมานได้ว่าธุรกิจเรากำลังขาดทุนอยู่และต้องปรับแผนการดำเนินการใหม่เพื่อให้มีเงินสดพอรองรับค่าใช้จ่าย

งบกระแสเงินสดจากการลงทุน (Cash Flow from Investment)

รายรับหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการลงทุน เช่น การปรับปรุงโรงงาน (-) การลงทุนในเครื่องจักรใหม่ (-) 
บริษัทที่มีการลงทุนในสินทรัพย์เพื่อขยายการผลิต จะมีงบกระแสเงินสดจากการลงทุนที่ติดลบเสมอ (-) เพราะการลงทุนในสินทรัพย์เป็นรายจ่าย ด้วยเหตุนี้ ตัวชี้วัดที่เหมาะสมจะไม่ใช่งบที่ (+) หรือ (-) แต่จะเป็น อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (Return on Asset) การวัดความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์ของบริษัท หรือ อัตราหมุนเวียนทรัพย์สิน (Asset Turnover) ที่วัดความสามารถในการใช้สินทรัพย์ในการสร้างรายได้ว่าคุ้มแค่ไหน

งบกระแสเงินสดจากการจัดหาเงินทุน (Cash Flow from Financing)

รายรับหรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการจัดหาเงินทุน ไม่ว่าจะเป็นกู้เงิน (+) เพิ่มทุน (+) ออกหุ้นกู้ (+) การคืนเงิน (-) หรือ การจ่ายเงินปันผล (-) หากบริษัทมีกำหนดชำระหนี้สินเชื่อธุรกิจ บริษัทต้องวางแผนให้มีเงินสดเพียงพอที่จะครอบคลุมภาระสินเชื่อนั้นๆ

ตัวอย่างประเภทรายรับรายจ่ายในงบกระแสเงินสด

ตัวอย่างประเภทรายรับรายจ่ายในงบกระแสเงินสด

 

รายรับ (+)

รายจ่าย (-)

กระแสเงินสดจากการกิจกรรมดำเนินงาน

 

  • การขายสินค้า/บริการ
  • การรับชำระหนี้จากลูกหนี้
  • การรับบริจาค/เงินช่วยเหลือ
  • การได้รับดอกเบี้ยรับจากบัญชีเงินฝากธนาคาร
  • การซื้อสินค้า
  • การชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า
  • การดำเนินงานต่างๆ เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่า เงินเดือน

กระแสเงินสดจากการกิจกรรมลงทุน

  • การขายที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
  • การขายเงินลงทุนระยะยาว หรือสินทรัพย์อื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากกิจกรรมดำเนินงาน
  • การซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
  • การลงทุนระยะยาว
  • การซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือสินทรัพย์อื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากกิจกรรมดำเนินงาน

กระแสเงินสดจากการกิจกรรมจัดหาเงินทุน

  • การออกจำหน่ายหุ้นทุน หรือหลักทรัพย์หุ้นทุนอื่น
  • การออกจำหน่ายหุ้นกู้
  • จากการกู้ยืมเงินระยะยาวจากสถาบันการเงิน 
  • การชำระหนี้เงินกู้ระยะยาว
  • การจ่ายเงินปันผล
  • การซื้อหรือไถ่ถอนหุ้นทุนของกิจการ

การคำนวณงบกระแสเงินสด

การคำนวณงบกระแสเงินสดทำได้ 2 วิธี คือ ทางตรง และ ทางอ้อม แม้การแสดงรายการอาจต่างกันบ้าง แต่ผลลัพธ์ก็ยังคงเท่ากันเหมือนเดิม 

การคำณวนกระแสเงินสดทางตรง 

  • เงินสดคงเหลือต้นงวด 
  • +/- เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน 
  • +/- เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน 
  • +/- เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน 
  • = กระแสเงินสดปลายงวด 

การคำณวนกระแสเงินสดทางอ้อม

  • กำไรสุทธิก่อนดอกเบี้ย เงินปันผล และภาษี
  • +/- รายการปรับปรุง
  • +/- การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์เพิ่ม เงินสดลบ หนี้สินเพิ่ม เงินสดบวก
  • +/- เงินสดรับและจ่ายจากดอกเบี้ย ปันผล ภาษี

กรณีศึกษา: งบกระแสเงินสด บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน)

งบกระแสเงินสด บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) ปี 2565   งบกระแสเงินสด บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) ปี 2565

ที่มา: investor.afteryoudessertcafe.com


กรณีศึกษา: ตัวอย่างการคำนวณ งบกระแสเงินสด บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน)

การคำณวนกระแสเงินสดทางตรง 
บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) ปี 2564-2565 (หน่วย: พันบาท)

เงินสดคงเหลือต้นงวด

161,486

เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน

113,160

เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน

(18,648)

เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน

(30,587)

ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงินเพิ่มขึ้น (ลดลง)

233

กระแสเงินสดปลายงวด

225,644

 

การคำณวนกระแสเงินสดทางอ้อม
บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) ปี 2564-2565 (หน่วย: พันบาท)

กำไรสุทธิก่อนดอกเบี้ย เงินปันผล และภาษี

60,663

รายการปรับปรุง

72,327

การเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์จากการดำเนินงาน

(13,818)

เงินสดรับและจ่ายจากดอกเบี้ย ปันผล ภาษี

(6,012)

เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน

113,160

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่ายอดรวมของ เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน คือ 113,160 เท่ากันกับวิธีการคำนวณทางตรง

หากต้องการคำนวณ กระแสเงินสดปลายงวด จะใช้วิธีดังนี้

กระแสเงินสดปลายงวดโดยวิธีทางอ้อม

เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน

113,160

เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน

(18,648)

เงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน

(30,587)

ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงินเพิ่มขึ้น (ลดลง)

233

เงินสด เพิ่มขึ้น(ลดลง) สุทธิ

64,158

ดังนั้น 

เงินสดคงเหลือต้นงวด + เงินสดเพิ่มขึ้น(ลดลง) สุทธิ = กระแสเงินสดปลายงวด

161,486 + 64,158 = 225,644

บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เติบโตขึ้นมาก ซึ่งหากอ่านคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (MD&A) และงบกระแสเงินสด จะเห็นได้ว่าการเติบโตของยอดขายร้านขนมหวานเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น  ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มกลับมารับประทานของหวานนอกบ้านมากขึ้น และการเข้าประเทศที่ง่ายขึ้นทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มกลับมาฟื้นตัว นอกจากนี้ บริษัทได้มีการขยายสาขาเพิ่มขึ้นให้สอดคล้องกับแนวโน้มการขายที่น่าจะมากขึ้น 

ดังนั้นกระแสเงินสดปลายงวดที่เห็นด้านบนจะถูกนำไปใช้ตั้งเป็นกระแสเงินสดต้นงวด และนำไปคาดการณ์งบกระแสเงินสดที่กำลังจะเกิดขึ้น (Forecast Cash Flow) ในเดือนต่อไปได้ด้วย 

การหมั่นดูแลงบกระแสเงินสดก็ไม่ต่างกับการหมั่นดูแลสุภาพ เพราะถ้าเรารู้ว่ากำลังมีโรคระบาด เราก็จะระวังตัวและดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการติดโรค การดูแลงบกระแสเงินสดก็เช่นกัน การหมั่นวิเคราะห์และคาดการณ์จะทำให้เรามีโอกาสเตรียมตัวและวางแผนจัดการกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสภาพคล่องของเราในอนาคต 

หากงบกระแสเงินสดมีแนวโน้มติดลบ วิธีบริหารเงินสดหรือสภาพคล่องเบื้องต้นมีดังนี้ อ่านต่อ บทความ: 5 ข้อง่ายๆ ในการเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจคุณ ทว่าบริษัทได้มีการบริหารรายจ่ายแล้ว แต่ยังมีความเสี่ยงที่งบกระแสเงินสดจะติดลบ บริษัทควรเตรียมตัวในการขอสินเชื่อหรือหาแหล่งเงินทุนไว้รองรับเพื่อไม่ให้ธุรกิจสะดุด อ่านต่อ บทความ: ทำความรู้จัก 4 แหล่งเงินทุนเพื่อธุรกิจ SME 


 

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดก็ตาม เว็บไซต์นั้นอาจจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของ cookie ข้อมูลเหล่านี้อาจเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน หรือเพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานอย่างที่ท่านต้องการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้โดยตรง แต่ช่วยให้ท่านใช้งานเว็บตามความต้องการส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น โดยที่เราเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน ท่านสามารถปิดการทำงานของ cookie บางประเภทได้ โปรดคลิกที่หัวข้อประเภทอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นในการใช้งาน cookie อย่างไรก็ตาม ท่านควรทราบว่าการปิดการทำงานของ cookie บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการของเรา

ยอมรับทั้งหมด

จัดการการกำหนดลักษณะความยินยอม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ เช่น การรักษาความปลอดภัย คุณสามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ได้ด้วยการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ แต่การตั้งค่าดังกล่าวอาจส่งผลต่อการทำงานของเว็บไซต์
รายละเอียดคุกกี้

คุกกี้ในส่วนการตลาด

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อการนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของผู้ใช้บริการแต่ละราย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานคุกกี้ชนิดนี้ สามารถดูได้ที่นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ยืนยันตัวเลือกของฉัน
Cookie Domain Description
XSRF-TOKEN www.investree.co.th คุกกี้นี้ตั้งค่าโดย Wix และใช้เพื่อความปลอดภัย
laravel_session www.investree.co.th laravel ใช้ laravel_session เพื่อระบุอินสแตนซ์ของเซสชันสำหรับผู้ใช้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้
_gat .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ได้รับการติดตั้งโดย Google Universal Analytics เพื่อจำกัดอัตราคำขอและจำกัดการรวบรวมข้อมูลบนไซต์ที่มีการเข้าชมสูง
_ga .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ซึ่งติดตั้งโดย Google Analytics จะคำนวณข้อมูลผู้เข้าชม เซสชัน และแคมเปญ และยังติดตามการใช้งานไซต์สำหรับรายงานการวิเคราะห์ของไซต์ คุกกี้เก็บข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนและกำหนดหมายเลขที่สร้างขึ้นแบบสุ่มเพื่อระบุผู้เยี่ยมชมที่ไม่ซ้ำ
_gid .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ติดตั้งโดย Google Analytics คุกกี้ _gid จะเก็บข้อมูลว่าผู้เยี่ยมชมใช้งานเว็บไซต์อย่างไร ในขณะเดียวกันก็สร้างรายงานการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย ข้อมูลบางส่วนที่เก็บรวบรวม ได้แก่ จำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่เข้าชมโดยไม่ระบุตัวตน

 

ลงทะเบียน | นักลงทุน 



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Syariah financing funding Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Personal Loan Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Business Loan Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Syariah Business Financing Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Referrer Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Issuer Registration



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Pendaftaran Reseller Financing



Sudah punya akun? Login

ลืมรหัสผ่าน

Loan Solutions

Choose what suits your needs


Personal loan for daily needs

Borrow Up to:
บาท 50.000.000
  • Home Improvement
  • Educational loans
  • Vacation Loan
  • Wedding Loans
  • Medical Fees
  • Umroh's Journey
Make Your Dreams Come True

Business Loans as an Invoice Financing solution

Borrow Up to:
บาท 2.000.000.000
  • Interest ranging from 14%
  • Full funding within 72 hours
  • Transparent
Make Your Dreams Come True