นักลงทุนต้องรู้! เช็คสิทธิลดหย่อนภาษี และการวางแผนยื่นภาษีปี 2566

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร?

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากรายได้ของบุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นเงินได้จากการจ้างแรงงาน การทำธุรกิจ การลงทุน การเช่าอสังหาริมทรัพย์ การได้รับมรดกหรือรางวัล หรือเงินอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียภาษี 

ใครมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

อ้างอิง เว็บไซต์กรมสรรพากร  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่

  • บุคคลธรรมดาที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ และ ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี ที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีไม่ต่ำกว่า 120,000 บาท (สำหรับบุคคลที่มีสถาณะโสด) และ ไม่ต่ำกว่า 220,000 บาท (สำหรับบุคคลที่มีสถาณะสมรส) 
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
  • กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
  • วิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  • ผู้มีเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน มากกว่า 150,000 บาท

รายได้แบบไหนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

รายได้หรือเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

  • รายได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จ บำนาญ
  • รายได้จากการประกอบธุรกิจ เช่น กำไรจากการค้า อุตสาหกรรม บริการ ขนส่ง หลักทรัพย์
  • รายได้จากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น เงินค่าเช่าบ้าน ที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง
  • รายได้จากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรจากการขายหลักทรัพย์
  • รายได้จากการประกอบอาชีพอิสระ เช่น เงินได้จากการประกอบอาชีพโรคศิลปะ นักกฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม
  • รายได้จากการได้รับมรดกหรือพินัยกรรม
  • รายได้จากการได้รับรางวัล เช่น รางวัลจากการประกวด รางวัลจากการชิงโชค รางวัลจากการบริจาค
  • รายได้อื่น ๆ เช่น เงินได้จากการได้รับค่าทดแทนความเสียหาย เงินได้จากการได้รับค่าสินไหมทดแทน เงินได้จากการได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากการรับราชการทหาร

ค่าใช้จ่ายแบบไหนที่สามารถนำมาหักได้ในการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักได้ในการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

ค่าใช้จ่ายเหมา 

เป็นการเหมารวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดตามประเภทของเงินได้ที่ได้รับ โดยอัตราหักค่าใช้จ่ายเหมาของแต่ละประเภทเงินได้ เช่น

ประเภทเงินได้ หักค่าใช้จ่าย
เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง 50% ไม่เกิน 100,000 บาท

ค่าใช้จ่ายตามจริง 

เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและจำเป็นต่อการดำเนินกิจการหรืออาชีพของผู้มีเงินได้ เช่น

ประเภทเงินได้ หักค่าใช้จ่าย
ค่านิยม ค่าลิขสิทธิ์ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
วิชาชีพอิสระ ที่ประกอบโรคศิลปะ เช่น กลุ่มเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์ 60%
วิชาชีพอิสระ เช่น กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม 30%
รับเหมาก่อสร้าง 60%

ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอะไรบ้าง?

ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สามารถนำไปหักจากรายได้เพื่อคำนวนเงินได้สุทธิ และ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องชำระ 

รายการ สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ไม่เกิน (บาท) 
 
เงื่อนไข
ผู้มีรายได้ 60,000 -
คู่สมรสที่จดทะเบียน และไม่มีเงินได้ 60,000 -
บุตรอายุไม่เกิน 25 ปี 30,000 ต่อคน -
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป 30,000 ต่อคน -
ค่าเบี้ยประกันชีวิต กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป 25,000 -
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ 15,000 เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตที่มีกำหนดตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 100,000 บาท
เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 500,000 เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. กองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน และค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เงินสมทบประกันสังคม 200,000 -
ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร 60,000 -
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เท่าที่จ่ายจริง หักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 500,000
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 200,000
เงินลงทุนในหุ้น ธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เท่าที่จ่ายจริง หักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 100,000

นอกจากนี้นักลงทุนจะต้องพิจารณาการนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนเช่น ดอกเบี้ยจากหุ้นกู้ เงินปันผลจากหุ้นหรือกองทุน ไปรวมกับเงินได้เพื่อประเมินว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่สำหรับการยื่นรายการเงินได้ในส่วนที่โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายทั้งหมด เพื่อรับเครดิตเงินปันผล หรือการขอเงินภาษีคืน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร?

สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด

  • เงินได้สุทธิ คือ เงินได้รวมหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ
  • เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า คือ เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้าในตารางอัตราภาษี
  • อัตราภาษี คือ อัตราภาษีตามขั้นบันไดในตารางอัตราภาษี
  • ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด คือ ภาษีที่ต้องจ่ายสูงสุดในขั้นบันไดก่อนหน้า

ทั้งนี้ เงินได้สุทธิสามารถคำนวณได้จาก

เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน 

  • เงินได้ คือ เงินได้ที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
  • ค่าใช้จ่าย คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและจำเป็นในการประกอบกิจการหรือในการหารายได้
  • ค่าลดหย่อน คือ รายการค่าใช้จ่ายที่กฎหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้ก่อนการคำนวณภาษีเงินได้

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร   

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบันจะคำนวณเป็นแบบขั้นบันได ดังนั้นเงินได้สุทธิแต่ละขั้นจะมีอัตราภาษีที่แตกต่างกัน โดย “เงินได้สุทธิ” จะคำนวณจากเงินได้พึงประเมินหักด้วยค่าลดหย่อนต่างๆ แล้ว 

สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได มีดังนี้

ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด

เงินได้สุทธิต่อปี (บาท) อัตราภาษีต่อปี ภาษีในแต่ละขั้นบันได
0 - 150,000 ยกเว้นภาษี 0
150,001 - 300,000 5% 7,500
300,001 - 500,000 10% 20,000
500,001 - 750,000 15% 37,500
750,001 - 1,000,000 20% 50,000
1,000,001 - 2,000,000 25% 250,000
2,000,001 - 5,000,000 30% 900,000
ตั้งแต่ 5,000,001 ขึ้นไป 35% -

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องชำระเมื่อไหร่

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลักๆ ดังนี้

  มีเงินเดือนอย่างเดียว มีเงินเดือนและรายได้อื่นๆ
กำหนดชำระ 31 มีนาคม ของปีถัดไป
ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ภ.ง.ด. 90
เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
เอกสารการลดหย่อนภาษี
  • ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ
  • หนังสือรับรองดอกเบี้ยกู้ยืมจากธนาคาร
  • หลักฐานการบริจาค
  • ใบเสร็จรับเงินการซื้อกองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว (RMF, SSF, SSFX)

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายื่นที่ไหน

สามารถทำการยื่นภาษีง่ายๆ ผ่านออนไลน์แบบ e-FILING ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่นี่

ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาล่าช้าเกินกำหนดเวลา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี 

สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนคราวด์ฟันดิงบนแพลทฟอร์มของอินเวสทรี สามารถดาวส์โหลดเอกสารต่างๆ อาทิเช่น หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย, ใบเสร็จค่าบริการ ได้ที่ Investor Dashboard

นักลงทุนควรวางแผนภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วน พร้อมกับศึกษาการลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมที่สุด การวางแผนภาษีนอกจากจะทำให้ประหยัดภาษีแล้วยังเป็นการส่งเสริมการออม ซึ่งทำให้แผนการลงทุนมีประสิทธิภาพในระยะยาว
 



นักลงทุนต้องรู้! เช็คสิทธิลดหย่อนภาษี และการวางแผนยื่นภาษีปี 2566

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร?

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากรายได้ของบุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นเงินได้จากการจ้างแรงงาน การทำธุรกิจ การลงทุน การเช่าอสังหาริมทรัพย์ การได้รับมรดกหรือรางวัล หรือเงินอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียภาษี 

ใครมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

อ้างอิง เว็บไซต์กรมสรรพากร  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่

  • บุคคลธรรมดาที่มีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ และ ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี ที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีไม่ต่ำกว่า 120,000 บาท (สำหรับบุคคลที่มีสถาณะโสด) และ ไม่ต่ำกว่า 220,000 บาท (สำหรับบุคคลที่มีสถาณะสมรส) 
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
  • กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ที่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
  • วิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  • ผู้มีเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน มากกว่า 150,000 บาท

รายได้แบบไหนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

รายได้หรือเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

  • รายได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จ บำนาญ
  • รายได้จากการประกอบธุรกิจ เช่น กำไรจากการค้า อุตสาหกรรม บริการ ขนส่ง หลักทรัพย์
  • รายได้จากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น เงินค่าเช่าบ้าน ที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง
  • รายได้จากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรจากการขายหลักทรัพย์
  • รายได้จากการประกอบอาชีพอิสระ เช่น เงินได้จากการประกอบอาชีพโรคศิลปะ นักกฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม
  • รายได้จากการได้รับมรดกหรือพินัยกรรม
  • รายได้จากการได้รับรางวัล เช่น รางวัลจากการประกวด รางวัลจากการชิงโชค รางวัลจากการบริจาค
  • รายได้อื่น ๆ เช่น เงินได้จากการได้รับค่าทดแทนความเสียหาย เงินได้จากการได้รับค่าสินไหมทดแทน เงินได้จากการได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากการรับราชการทหาร

ค่าใช้จ่ายแบบไหนที่สามารถนำมาหักได้ในการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักได้ในการคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

ค่าใช้จ่ายเหมา 

เป็นการเหมารวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดตามประเภทของเงินได้ที่ได้รับ โดยอัตราหักค่าใช้จ่ายเหมาของแต่ละประเภทเงินได้ เช่น

ประเภทเงินได้ หักค่าใช้จ่าย
เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง 50% ไม่เกิน 100,000 บาท

ค่าใช้จ่ายตามจริง 

เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและจำเป็นต่อการดำเนินกิจการหรืออาชีพของผู้มีเงินได้ เช่น

ประเภทเงินได้ หักค่าใช้จ่าย
ค่านิยม ค่าลิขสิทธิ์ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท
วิชาชีพอิสระ ที่ประกอบโรคศิลปะ เช่น กลุ่มเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์ 60%
วิชาชีพอิสระ เช่น กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรม 30%
รับเหมาก่อสร้าง 60%

ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอะไรบ้าง?

ค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคือสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สามารถนำไปหักจากรายได้เพื่อคำนวนเงินได้สุทธิ และ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องชำระ 

รายการ สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ไม่เกิน (บาท) 
 
เงื่อนไข
ผู้มีรายได้ 60,000 -
คู่สมรสที่จดทะเบียน และไม่มีเงินได้ 60,000 -
บุตรอายุไม่เกิน 25 ปี 30,000 ต่อคน -
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป 30,000 ต่อคน -
ค่าเบี้ยประกันชีวิต กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป 25,000 -
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ 15,000 เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตที่มีกำหนดตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ไม่เกิน 100,000 บาท
เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 500,000 เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กบข. กองทุนสงเคราะห์โรงเรียนเอกชน และค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เงินสมทบประกันสังคม 200,000 -
ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร 60,000 -
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) เท่าที่จ่ายจริง หักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 500,000
กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 200,000
เงินลงทุนในหุ้น ธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เท่าที่จ่ายจริง หักลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 100,000

นอกจากนี้นักลงทุนจะต้องพิจารณาการนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนเช่น ดอกเบี้ยจากหุ้นกู้ เงินปันผลจากหุ้นหรือกองทุน ไปรวมกับเงินได้เพื่อประเมินว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่สำหรับการยื่นรายการเงินได้ในส่วนที่โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายทั้งหมด เพื่อรับเครดิตเงินปันผล หรือการขอเงินภาษีคืน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร?

สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด

  • เงินได้สุทธิ คือ เงินได้รวมหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ
  • เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า คือ เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้าในตารางอัตราภาษี
  • อัตราภาษี คือ อัตราภาษีตามขั้นบันไดในตารางอัตราภาษี
  • ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด คือ ภาษีที่ต้องจ่ายสูงสุดในขั้นบันไดก่อนหน้า

ทั้งนี้ เงินได้สุทธิสามารถคำนวณได้จาก

เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน 

  • เงินได้ คือ เงินได้ที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
  • ค่าใช้จ่าย คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและจำเป็นในการประกอบกิจการหรือในการหารายได้
  • ค่าลดหย่อน คือ รายการค่าใช้จ่ายที่กฎหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้ก่อนการคำนวณภาษีเงินได้

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร   

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบันจะคำนวณเป็นแบบขั้นบันได ดังนั้นเงินได้สุทธิแต่ละขั้นจะมีอัตราภาษีที่แตกต่างกัน โดย “เงินได้สุทธิ” จะคำนวณจากเงินได้พึงประเมินหักด้วยค่าลดหย่อนต่างๆ แล้ว 

สูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบขั้นบันได มีดังนี้

ภาษีที่ต้องจ่าย = (เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดของขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี + ภาษีขั้นบันไดก่อนหน้าสูงสุด

เงินได้สุทธิต่อปี (บาท) อัตราภาษีต่อปี ภาษีในแต่ละขั้นบันได
0 - 150,000 ยกเว้นภาษี 0
150,001 - 300,000 5% 7,500
300,001 - 500,000 10% 20,000
500,001 - 750,000 15% 37,500
750,001 - 1,000,000 20% 50,000
1,000,001 - 2,000,000 25% 250,000
2,000,001 - 5,000,000 30% 900,000
ตั้งแต่ 5,000,001 ขึ้นไป 35% -

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องชำระเมื่อไหร่

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลักๆ ดังนี้

  มีเงินเดือนอย่างเดียว มีเงินเดือนและรายได้อื่นๆ
กำหนดชำระ 31 มีนาคม ของปีถัดไป
ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ภ.ง.ด. 90
เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
เอกสารการลดหย่อนภาษี
  • ใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต/สุขภาพ
  • หนังสือรับรองดอกเบี้ยกู้ยืมจากธนาคาร
  • หลักฐานการบริจาค
  • ใบเสร็จรับเงินการซื้อกองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว (RMF, SSF, SSFX)

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดายื่นที่ไหน

สามารถทำการยื่นภาษีง่ายๆ ผ่านออนไลน์แบบ e-FILING ได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่นี่

ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาล่าช้าเกินกำหนดเวลา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี 

สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนคราวด์ฟันดิงบนแพลทฟอร์มของอินเวสทรี สามารถดาวส์โหลดเอกสารต่างๆ อาทิเช่น หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย, ใบเสร็จค่าบริการ ได้ที่ Investor Dashboard

นักลงทุนควรวางแผนภาษีอย่างถูกต้องและครบถ้วน พร้อมกับศึกษาการลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมที่สุด การวางแผนภาษีนอกจากจะทำให้ประหยัดภาษีแล้วยังเป็นการส่งเสริมการออม ซึ่งทำให้แผนการลงทุนมีประสิทธิภาพในระยะยาว
 

Accept All Cookies

When you visit any website, it may store or retrieve information on your browser, mostly in the form of cookies. This information might be about you, your preferences or your device and is mostly used to make the site work as you expect it to. The information does not usually directly identify you, but it can give you a more personalized web experience. Because we respect your right to privacy, you can choose not to allow some types of cookies. Click on the different category headings to find out more and change our default settings. However, blocking some types of cookies may impact your experience of the site and the services we are able to offer.

Accept All Cookies

Manage Consent Preferences

Strictly Necessary Cookies
Always On

These cookies are necessary for the website to function and cannot be switched off in our systems. They are usually only set in response to actions made by you which amount to a request for services, such as setting your privacy preferences, logging in or filling in forms. You can set your browser to block or alert you about these cookies, but some parts of the site will not then work. These cookies do not store any personally identifiable information. cookie details
cookie details

Targeting cookies or advertising cookies

These cookies are used to deliver advertisements more relevant to you and your interests and to limit the number of times you see general advertisements as well as help measure the effectiveness of our advertising campaigns. These cookies will be placed by advertising networks (e.g. Facebook, Google, etc.) with our permission and will remember how you have visited our website and information may be shared with other organizations such as advertisers. Quite often targeting or advertising cookies will be linked to website functionality provided by the other organizations. You can find out about your rights and how we use your information in our Privacy Policy.

Confirm my Choice
Cookie Domain Description
XSRF-TOKEN www.investree.co.th This cookie is set by Wix and is used for security purposes.
laravel_session www.investree.co.th laravel uses laravel_session to identify a session instance for a user, this can be changed
_gat .investree.co.th Google Universal Analytics sets this cookie to restrain request rate and thus limit data collection on high-traffic sites.
_ga .investree.co.th Google Analytics sets this cookie to calculate visitor, session and campaign data and track site usage for the site's analytics report. The cookie stores information anonymously and assigns a randomly generated number to recognise unique visitors.
_gid .investree.co.th Google Analytics sets this cookie to store information on how visitors use a website while also creating an analytics report of the website's performance. Some of the collected data includes the number of visitors, their source, and the pages they visit anonymously.

Sign Up | INVESTOR 



Already Have an Account? Login

Syariah financing funding Register




Already Have an Account? Login

Personal Loan Register




Already Have an Account? Login

Business Loan Register



Already Have an Account? Login

Syariah Business Financing Register



Already Have an Account? Login

Referrer Register




Already Have an Account? Login

Issuer Registration



Already have an account? Login

Pendaftaran Reseller Financing



Sudah punya akun? Login

Forgot Password

Loan Solutions

Choose what suits your needs


Personal loan for daily needs

Borrow Up to:
THB 50.000.000
  • Home Improvement
  • Educational loans
  • Vacation Loan
  • Wedding Loans
  • Medical Fees
  • Umroh's Journey
Make Your Dreams Come True

Business Loans as an Invoice Financing solution

Borrow Up to:
THB 2.000.000.000
  • Interest ranging from 14%
  • Full funding within 72 hours
  • Transparent
Make Your Dreams Come True