เจาะลึกกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง สิ่งที่ SME ต้องรู้

หากธุรกิจคุณเป็นธุรกิจในลักษณะ Business-to-Business หรือ B2B ช่องทางการขายแบบ Passive อาจไม่พอสำหรับโลกธุรกิจปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง การเข้าถึงลูกค้าในเชิง Proactive หรือ Direct จึงเป็นอีกวิธีที่สามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงลูกค้าที่ถูกกลุ่มและโดยตรง บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณให้โดนใจลูกค้า ทำอย่างไรถึงจะชนะการประมูลการจัดซื้อจัดจ้าง และ ได้รับเลือกให้อยู่ในรายชื่อผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่าย และ เคล็ดลับในการบริหารจัดการ ใบสั่งซื้อ ใบแจ้งหนี้ ตลอดจนถึงการรับชำระเงิน

เข้าใจกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง

กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง คือ ขั้นตอนที่บริษัทดำเนินการเพื่อซื้อสินค้าและบริการ กระบวนการนี้ โดยทั่วไป จะรวมถึงขั้นตอนต่อไปนี้:

  • การระบุความต้องการ (Requirement): บริษัทระบุความต้องการสำหรับสินค้าหรือบริการ แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีของบริษัท

  • การประกาศร่างขอบเขตของงาน (Term of Reference หรือ TOR): บริษัทจะประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งของหรืองานบริการที่บริษัทมีแผนที่จะใช้ ซึ่งจะอยู่ในเอกสารที่เรียกว่าขอบเขตของงาน และ บริษัทจะระบุรายละเอียดขั้นตอนการประกวดราคา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่บนระบบ e-bidding หรือ  Procurement ของบริษัท และ ระบบ gprocurement หากเป็นการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ

  • การประเมินและเลือกผู้จัดจำหน่าย: บริษัทประเมินและเลือกผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายที่สามารถจัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการตรงตามที่บริษัทต้องการ โดยบริษัทจะสรุปรายชื่อผู้จัดจำหน่ายที่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นเพื่อขั้นตอนการตัดสินใจต่อไป หรือ ที่เรียกสั้นๆว่า Supplier Short List

  • กระบวนการอนุมัติ: บริษัทพิจารณาเลือกผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายที่เหมาะสมที่สุดผ่านกระบวนการอนุมัติภายในโดยยึดปัจจัยต่างๆในการตัดสินใจ อาทิ เช่น ความสามารถในการสนองขอบเขตของงาน การดูแลลูกค้าหลังการขาย การรับประกันสินค้าและบริการ ราคา รายชื่อลูกค้าบริษัทและผลงานที่ผ่านมาเพื่อการตรวจสอบและอ้างอิง เงื่อนไขการชำระเงิน และเมื่อบริษัทได้เลือกผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายแล้วบริษัทจะประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้างให้ทราบ

  • ใบสั่งซื้อ: บริษัทออกใบสั่งซื้อให้กับผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายที่ได้รับเลือก

  • การส่งมอบ: ผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายส่งมอบสินค้าหรือบริการตามกำหนด

  • ใบแจ้งหนี้และกระบวนการชำระเงิน: ผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายส่งใบแจ้งหนี้และบริษัทดำเนินการชำระเงินตามกำหนด

  • การเก็บบันทึก: บริษัทบันทึกธุรกรรมเพื่ออ้างอิงในอนาคตและการตรวจสอบ

การนำเสนอสินค้าหรือบริการ

ประตูด่านแรกที่ SME จะต้องพิชิตคือการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ลุกค้าหรือแผนกจัดซื้อจัดจ้างรู้จัก สิ่งที่ SME นำเสนอจะต้องตอบสนองความต้องการของบริษัทได้ดีกว่าผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายรายอื่นในตลาด ดังนั้น การนำเสนอควรเน้นถึงคุณลักษณะและประโยชน์ที่ไม่ซ้ำกับสินค้าหรือบริการของคู่แข่งในตลาด รวมถึงแสดงข้อมูลหรือหลักฐานว่าทำไมสินค้าหรือบริการของ SME ถึงดีที่สุดสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนี้

การได้รับการอนุมัติให้อยู่ในรายชื่อผู้จัดจำหน่าย

นอกจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณแล้ว บริษัทของคุณจะต้องมีคุณสมบัติตามที่บริษัทได้ระบุไว้ในประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง บริษัทของคุณจะได้อนุมัติให้เข้าไปอยู่ในรายชื่อผู้จัดจำหน่ายของบริษัท (Approved Supplier List) เมื่อบริษัทคุณผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว

การได้รับเลือกเป็นผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่าย

SME ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายจะต้องมีความสามารถในการตอบสนองขอบเขตของงานได้ครบถ้วนและดีกว่าคู่แข่ง และผ่านเกณฑ์อื่นๆที่บริษัทใช้ตัดสิน เช่น การรับรองคุณภาพ ความน่าเชื่อถือจากประวัติการให้บริการและข้อมูลลูกค้าของบริษัทที่อ้างอิงได้ การแสดงความมั่นคงทางการเงิน การแสดงการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง การรับประกัน ชำระเงิน และ เครดิตเทอม เป็นต้น 

การบริหารจัดการ ใบสั่งซื้อ ใบแจ้งหนี้ และกระบวนการชำระเงิน

เมื่อ SME ชนะการประกวดจัดซื้อจัดจ้าง หรือ ได้รับเลือกให้เป็นผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่าย บริษัทจะออกใบสั่งซื้อให้กับคุณ ใบสั่งซื้อ (Purchase Order หรือเรียกสั้นๆว่า ใบ PO) คือ เอกสารยืนยันรายละเอียดของสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าและคุณได้ตกลงร่วมกัน ข้อมูลสำคัญบนใบสั่งซื้อได้แก่ รายละเอียดสินค้าหรือบริการ ปริมาณ และ ราคา

หลังจากส่งมอบสินค้าหรือบริการ คุณควรส่งใบแจ้งหนี้ให้กับบริษัท ใบแจ้งหนี้ (Invoice) คือ เอกสารที่ระบุรายละเอียดทั้งหมดของธุรกรรมที่เกิดขึ้น หมายเลขใบสั่งซื้อ สินค้าหรือบริการที่ให้ ปริมาณ ราคา และเงื่อนไขการชำระเงิน บริษัทจะใช้ใบแจ้งหนี้ในการเบิกจ่าย การมีใบแจ้งหนี้จะทำให้คุณได้รับเงินเร็วและง่ายขึ้น และสามารถลดความผิดพลาดในการชำระเงินของลูกค้า

การเข้าใจเงื่อนไขการชำระเงินและเครดิตเทอม

เงื่อนไขการชำระเงินและเครดิตเทอมเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการจัดซื้อที่ SME ควรต้องให้ความสนใจ เงื่อนไขหลักคือ เรื่อง เครดิตเทอม หรือ วันที่ครบกำหนดชำระเงิน วิธีการชำระ และบทลงโทษในกรณีชำระเงินล่าช้า

สำหรับ SME เงื่อนไขการชำระเงินควรสอดคล้องกับวงจรธุรกิจของ SME เพื่อไม่ให้ SME ประสบปัญหาสภาพคล่อง เพราะเมื่อไหร่ที่รายได้มาไม่ทันรายจ่าย กระแสเงินสด (Cash Flow) ของ SME ก็จะติดลบ และ ทำให้ SME มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระกับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบในการดำเนินงานโดยตรง ทั้งนี้หากบริษัทผู้ซื้อพิจารณาเรื่องเครดิตเทอมเป็นปัจจัยหนึ่งในการจัดซื้อจัดจ้าง การที่จะชนะการแข่งขันทางธุรกิจก็อาจทำให้ SME ต้องไตร่ตรองและวางแผนเรื่องเงื่อนไขการชำระเงินอย่างรอบคอบและถี่ถ้วนเพื่อลดความเสี่ยงทางการเงิน 

เจาะลึกกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง สิ่งที่ SME ต้องรู้ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า หรือ เครดิตเทอม ให้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 45 วัน สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายตั้งแต่ ธันวาคม 2564

ข้อควรระวังสำหรับ SMEs

เมื่อ SME เข้ากระบวนการจัดซื้อของบริษัท SME ควรให้ความสนใจต่อสิ่งต่อไปนี้:

เข้าใจความต้องการของบริษัท: 
นำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณให้ตรงกับความต้องการและตอบสนอง Pain Point ของบริษัท แสดงให้บริษัทเห็นว่าสินค้าหรือบริการของคุณสามารถแก้ปัญหาของบริษัทได้

เคารพและปฏิบัติตามกฎกติกาการจัดซื้อจัดจ้าง:
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสามารถตอบสนองความต้องการของบริษัทได้ รวมถึงมาตรฐานคุณภาพ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และ คำมั่นสัญญาที่คุณมีให้กับบริษัท

การสื่อสารที่ชัดเจน: 
ให้ข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง และโปร่งใส กับบริษัทเสมอ โดยเฉพาะเรื่องราคา ระยะเวลาการส่งมอบ ข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ

การส่งมอบตรงเวลา: 
ส่งมอบสินค้าหรือบริการของคุณตามเวลาที่กำหนดในใบสั่งซื้อ ความล่าช้าสามารถทำลายความสัมพันธ์ของคุณกับบริษัทและส่งผลกระทบต่อโอกาสทางธุรกิจในอนาคต บริษัทของคุณอาจโดนแบล็คลิสต์ (Blacklist) ซึ่งจะไม่เป็นผลดีกับธุรกิจของคุณ

การออกใบแจ้งหนี้ที่ถูกต้อง: 
ตรวจสอบให้แน่ใจว่ารายละเอียดที่จำเป็นทั้งหมดอยู่บนใบแจ้งหนี้และมีความถูกต้อง ความผิดพลาดในการออกใบแจ้งหนี้สามารถนำไปสู่การชำระเงินที่ล่าช้า

ติดตามการชำระเงิน: 
ติดตามสถานะการชำระเงินตามที่ระบุในใบแจ้งหนี้อย่างมืออาชีพและมีขั้นตอนที่ชัดเจน

การเข้าใจกระบวนการจัดซื้อสามารถช่วยให้ SME ขายสินค้าหรือบริการให้กับบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โดนใจลูกค้า การได้รับการอนุมัติให้อยู่ในรายชื่อผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่าย การส่งมอบงานตามขอบเขตและกำหนด ตลอดจนถึงการบริหารจัดการ ใบสั่งซื้อ ใบแจ้งหนี้ และ กระบวนการชำระเงิน จะทำให้คุณสามารถสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดีและประสบความสำเร็จกับบริษัทและการเติบโตธุรกิจของคุณได้

หากคุณเป็น SME ที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุน และมีใบแจ้งหนี้รอรับชำระ คุณสามารถใช้ ใบแจ้งหนี้ ระดมทุน ผ่าน แพลตฟอร์ม Funding Portal ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของเราได้ การระดมทุนโดยใช้ใบแจ้งหนี้มีส่วนคล้ายกับการทำแฟคตอริ่ง แต่จะไม่มีการขายใบแจ้งหนี้เกิดขึ้น

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการระดมทุนได้ ที่นี่ 



เจาะลึกกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง สิ่งที่ SME ต้องรู้

หากธุรกิจคุณเป็นธุรกิจในลักษณะ Business-to-Business หรือ B2B ช่องทางการขายแบบ Passive อาจไม่พอสำหรับโลกธุรกิจปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูง การเข้าถึงลูกค้าในเชิง Proactive หรือ Direct จึงเป็นอีกวิธีที่สามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงลูกค้าที่ถูกกลุ่มและโดยตรง บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณให้โดนใจลูกค้า ทำอย่างไรถึงจะชนะการประมูลการจัดซื้อจัดจ้าง และ ได้รับเลือกให้อยู่ในรายชื่อผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่าย และ เคล็ดลับในการบริหารจัดการ ใบสั่งซื้อ ใบแจ้งหนี้ ตลอดจนถึงการรับชำระเงิน

เข้าใจกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง

กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง คือ ขั้นตอนที่บริษัทดำเนินการเพื่อซื้อสินค้าและบริการ กระบวนการนี้ โดยทั่วไป จะรวมถึงขั้นตอนต่อไปนี้:

  • การระบุความต้องการ (Requirement): บริษัทระบุความต้องการสำหรับสินค้าหรือบริการ แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีของบริษัท

  • การประกาศร่างขอบเขตของงาน (Term of Reference หรือ TOR): บริษัทจะประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งของหรืองานบริการที่บริษัทมีแผนที่จะใช้ ซึ่งจะอยู่ในเอกสารที่เรียกว่าขอบเขตของงาน และ บริษัทจะระบุรายละเอียดขั้นตอนการประกวดราคา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะอยู่บนระบบ e-bidding หรือ  Procurement ของบริษัท และ ระบบ gprocurement หากเป็นการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ

  • การประเมินและเลือกผู้จัดจำหน่าย: บริษัทประเมินและเลือกผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายที่สามารถจัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการตรงตามที่บริษัทต้องการ โดยบริษัทจะสรุปรายชื่อผู้จัดจำหน่ายที่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นเพื่อขั้นตอนการตัดสินใจต่อไป หรือ ที่เรียกสั้นๆว่า Supplier Short List

  • กระบวนการอนุมัติ: บริษัทพิจารณาเลือกผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายที่เหมาะสมที่สุดผ่านกระบวนการอนุมัติภายในโดยยึดปัจจัยต่างๆในการตัดสินใจ อาทิ เช่น ความสามารถในการสนองขอบเขตของงาน การดูแลลูกค้าหลังการขาย การรับประกันสินค้าและบริการ ราคา รายชื่อลูกค้าบริษัทและผลงานที่ผ่านมาเพื่อการตรวจสอบและอ้างอิง เงื่อนไขการชำระเงิน และเมื่อบริษัทได้เลือกผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายแล้วบริษัทจะประกาศผลการจัดซื้อจัดจ้างให้ทราบ

  • ใบสั่งซื้อ: บริษัทออกใบสั่งซื้อให้กับผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายที่ได้รับเลือก

  • การส่งมอบ: ผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายส่งมอบสินค้าหรือบริการตามกำหนด

  • ใบแจ้งหนี้และกระบวนการชำระเงิน: ผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายส่งใบแจ้งหนี้และบริษัทดำเนินการชำระเงินตามกำหนด

  • การเก็บบันทึก: บริษัทบันทึกธุรกรรมเพื่ออ้างอิงในอนาคตและการตรวจสอบ

การนำเสนอสินค้าหรือบริการ

ประตูด่านแรกที่ SME จะต้องพิชิตคือการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ลุกค้าหรือแผนกจัดซื้อจัดจ้างรู้จัก สิ่งที่ SME นำเสนอจะต้องตอบสนองความต้องการของบริษัทได้ดีกว่าผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายรายอื่นในตลาด ดังนั้น การนำเสนอควรเน้นถึงคุณลักษณะและประโยชน์ที่ไม่ซ้ำกับสินค้าหรือบริการของคู่แข่งในตลาด รวมถึงแสดงข้อมูลหรือหลักฐานว่าทำไมสินค้าหรือบริการของ SME ถึงดีที่สุดสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนี้

การได้รับการอนุมัติให้อยู่ในรายชื่อผู้จัดจำหน่าย

นอกจากการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณแล้ว บริษัทของคุณจะต้องมีคุณสมบัติตามที่บริษัทได้ระบุไว้ในประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง บริษัทของคุณจะได้อนุมัติให้เข้าไปอยู่ในรายชื่อผู้จัดจำหน่ายของบริษัท (Approved Supplier List) เมื่อบริษัทคุณผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว

การได้รับเลือกเป็นผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่าย

SME ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่ายจะต้องมีความสามารถในการตอบสนองขอบเขตของงานได้ครบถ้วนและดีกว่าคู่แข่ง และผ่านเกณฑ์อื่นๆที่บริษัทใช้ตัดสิน เช่น การรับรองคุณภาพ ความน่าเชื่อถือจากประวัติการให้บริการและข้อมูลลูกค้าของบริษัทที่อ้างอิงได้ การแสดงความมั่นคงทางการเงิน การแสดงการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง การรับประกัน ชำระเงิน และ เครดิตเทอม เป็นต้น 

การบริหารจัดการ ใบสั่งซื้อ ใบแจ้งหนี้ และกระบวนการชำระเงิน

เมื่อ SME ชนะการประกวดจัดซื้อจัดจ้าง หรือ ได้รับเลือกให้เป็นผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่าย บริษัทจะออกใบสั่งซื้อให้กับคุณ ใบสั่งซื้อ (Purchase Order หรือเรียกสั้นๆว่า ใบ PO) คือ เอกสารยืนยันรายละเอียดของสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าและคุณได้ตกลงร่วมกัน ข้อมูลสำคัญบนใบสั่งซื้อได้แก่ รายละเอียดสินค้าหรือบริการ ปริมาณ และ ราคา

หลังจากส่งมอบสินค้าหรือบริการ คุณควรส่งใบแจ้งหนี้ให้กับบริษัท ใบแจ้งหนี้ (Invoice) คือ เอกสารที่ระบุรายละเอียดทั้งหมดของธุรกรรมที่เกิดขึ้น หมายเลขใบสั่งซื้อ สินค้าหรือบริการที่ให้ ปริมาณ ราคา และเงื่อนไขการชำระเงิน บริษัทจะใช้ใบแจ้งหนี้ในการเบิกจ่าย การมีใบแจ้งหนี้จะทำให้คุณได้รับเงินเร็วและง่ายขึ้น และสามารถลดความผิดพลาดในการชำระเงินของลูกค้า

การเข้าใจเงื่อนไขการชำระเงินและเครดิตเทอม

เงื่อนไขการชำระเงินและเครดิตเทอมเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการจัดซื้อที่ SME ควรต้องให้ความสนใจ เงื่อนไขหลักคือ เรื่อง เครดิตเทอม หรือ วันที่ครบกำหนดชำระเงิน วิธีการชำระ และบทลงโทษในกรณีชำระเงินล่าช้า

สำหรับ SME เงื่อนไขการชำระเงินควรสอดคล้องกับวงจรธุรกิจของ SME เพื่อไม่ให้ SME ประสบปัญหาสภาพคล่อง เพราะเมื่อไหร่ที่รายได้มาไม่ทันรายจ่าย กระแสเงินสด (Cash Flow) ของ SME ก็จะติดลบ และ ทำให้ SME มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระกับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบในการดำเนินงานโดยตรง ทั้งนี้หากบริษัทผู้ซื้อพิจารณาเรื่องเครดิตเทอมเป็นปัจจัยหนึ่งในการจัดซื้อจัดจ้าง การที่จะชนะการแข่งขันทางธุรกิจก็อาจทำให้ SME ต้องไตร่ตรองและวางแผนเรื่องเงื่อนไขการชำระเงินอย่างรอบคอบและถี่ถ้วนเพื่อลดความเสี่ยงทางการเงิน 

เจาะลึกกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง สิ่งที่ SME ต้องรู้ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้ประกาศเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า หรือ เครดิตเทอม ให้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 45 วัน สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายตั้งแต่ ธันวาคม 2564

ข้อควรระวังสำหรับ SMEs

เมื่อ SME เข้ากระบวนการจัดซื้อของบริษัท SME ควรให้ความสนใจต่อสิ่งต่อไปนี้:

เข้าใจความต้องการของบริษัท: 
นำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณให้ตรงกับความต้องการและตอบสนอง Pain Point ของบริษัท แสดงให้บริษัทเห็นว่าสินค้าหรือบริการของคุณสามารถแก้ปัญหาของบริษัทได้

เคารพและปฏิบัติตามกฎกติกาการจัดซื้อจัดจ้าง:
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสามารถตอบสนองความต้องการของบริษัทได้ รวมถึงมาตรฐานคุณภาพ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และ คำมั่นสัญญาที่คุณมีให้กับบริษัท

การสื่อสารที่ชัดเจน: 
ให้ข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้อง และโปร่งใส กับบริษัทเสมอ โดยเฉพาะเรื่องราคา ระยะเวลาการส่งมอบ ข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ

การส่งมอบตรงเวลา: 
ส่งมอบสินค้าหรือบริการของคุณตามเวลาที่กำหนดในใบสั่งซื้อ ความล่าช้าสามารถทำลายความสัมพันธ์ของคุณกับบริษัทและส่งผลกระทบต่อโอกาสทางธุรกิจในอนาคต บริษัทของคุณอาจโดนแบล็คลิสต์ (Blacklist) ซึ่งจะไม่เป็นผลดีกับธุรกิจของคุณ

การออกใบแจ้งหนี้ที่ถูกต้อง: 
ตรวจสอบให้แน่ใจว่ารายละเอียดที่จำเป็นทั้งหมดอยู่บนใบแจ้งหนี้และมีความถูกต้อง ความผิดพลาดในการออกใบแจ้งหนี้สามารถนำไปสู่การชำระเงินที่ล่าช้า

ติดตามการชำระเงิน: 
ติดตามสถานะการชำระเงินตามที่ระบุในใบแจ้งหนี้อย่างมืออาชีพและมีขั้นตอนที่ชัดเจน

การเข้าใจกระบวนการจัดซื้อสามารถช่วยให้ SME ขายสินค้าหรือบริการให้กับบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โดนใจลูกค้า การได้รับการอนุมัติให้อยู่ในรายชื่อผู้ให้บริการหรือผู้จัดจำหน่าย การส่งมอบงานตามขอบเขตและกำหนด ตลอดจนถึงการบริหารจัดการ ใบสั่งซื้อ ใบแจ้งหนี้ และ กระบวนการชำระเงิน จะทำให้คุณสามารถสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ดีและประสบความสำเร็จกับบริษัทและการเติบโตธุรกิจของคุณได้

หากคุณเป็น SME ที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุน และมีใบแจ้งหนี้รอรับชำระ คุณสามารถใช้ ใบแจ้งหนี้ ระดมทุน ผ่าน แพลตฟอร์ม Funding Portal ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ของเราได้ การระดมทุนโดยใช้ใบแจ้งหนี้มีส่วนคล้ายกับการทำแฟคตอริ่ง แต่จะไม่มีการขายใบแจ้งหนี้เกิดขึ้น

ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการระดมทุนได้ ที่นี่ 

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดก็ตาม เว็บไซต์นั้นอาจจัดเก็บหรือดึงข้อมูลจากเบราว์เซอร์ของท่านซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของ cookie ข้อมูลเหล่านี้อาจเกี่ยวกับท่าน การตั้งค่าของท่าน อุปกรณ์ของท่าน หรือเพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานอย่างที่ท่านต้องการ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้โดยตรง แต่ช่วยให้ท่านใช้งานเว็บตามความต้องการส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น โดยที่เราเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของท่าน ท่านสามารถปิดการทำงานของ cookie บางประเภทได้ โปรดคลิกที่หัวข้อประเภทอื่นๆ เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมและเปลี่ยนการตั้งค่าเริ่มต้นในการใช้งาน cookie อย่างไรก็ตาม ท่านควรทราบว่าการปิดการทำงานของ cookie บางประเภทอาจส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์และบริการของเรา

ยอมรับทั้งหมด

จัดการการกำหนดลักษณะความยินยอม

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ เช่น การรักษาความปลอดภัย คุณสามารถปิดการใช้งานคุกกี้เหล่านี้ได้ด้วยการตั้งค่าในเว็บเบราว์เซอร์ แต่การตั้งค่าดังกล่าวอาจส่งผลต่อการทำงานของเว็บไซต์
รายละเอียดคุกกี้

คุกกี้ในส่วนการตลาด

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อการนำเสนอบริการที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของผู้ใช้บริการแต่ละราย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานคุกกี้ชนิดนี้ สามารถดูได้ที่นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ยืนยันตัวเลือกของฉัน
Cookie Domain Description
XSRF-TOKEN www.investree.co.th คุกกี้นี้ตั้งค่าโดย Wix และใช้เพื่อความปลอดภัย
laravel_session www.investree.co.th laravel ใช้ laravel_session เพื่อระบุอินสแตนซ์ของเซสชันสำหรับผู้ใช้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้
_gat .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ได้รับการติดตั้งโดย Google Universal Analytics เพื่อจำกัดอัตราคำขอและจำกัดการรวบรวมข้อมูลบนไซต์ที่มีการเข้าชมสูง
_ga .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ซึ่งติดตั้งโดย Google Analytics จะคำนวณข้อมูลผู้เข้าชม เซสชัน และแคมเปญ และยังติดตามการใช้งานไซต์สำหรับรายงานการวิเคราะห์ของไซต์ คุกกี้เก็บข้อมูลโดยไม่ระบุตัวตนและกำหนดหมายเลขที่สร้างขึ้นแบบสุ่มเพื่อระบุผู้เยี่ยมชมที่ไม่ซ้ำ
_gid .investree.co.th คุกกี้เก็บข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตน ติดตั้งโดย Google Analytics คุกกี้ _gid จะเก็บข้อมูลว่าผู้เยี่ยมชมใช้งานเว็บไซต์อย่างไร ในขณะเดียวกันก็สร้างรายงานการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย ข้อมูลบางส่วนที่เก็บรวบรวม ได้แก่ จำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่เข้าชมโดยไม่ระบุตัวตน

 

ลงทะเบียน | นักลงทุน 



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Syariah financing funding Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Personal Loan Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Business Loan Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Syariah Business Financing Register



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Referrer Register




คุณมีบัญชีอยู่แล้ว Login

Issuer Registration



คุณมีบัญชีอยู่แล้ว เข้าสู่ระบบ

Pendaftaran Reseller Financing



Sudah punya akun? Login

ลืมรหัสผ่าน

Loan Solutions

Choose what suits your needs


Personal loan for daily needs

Borrow Up to:
บาท 50.000.000
  • Home Improvement
  • Educational loans
  • Vacation Loan
  • Wedding Loans
  • Medical Fees
  • Umroh's Journey
Make Your Dreams Come True

Business Loans as an Invoice Financing solution

Borrow Up to:
บาท 2.000.000.000
  • Interest ranging from 14%
  • Full funding within 72 hours
  • Transparent
Make Your Dreams Come True